สภาพความต้องการจำเป็นและการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ และ 3) จัดกิจกรรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 330 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน 2) แบบสอบ ถามสภาพที่พึงประสงค์ 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบบันทึกการดำเนินการ การจัดกิจกรรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินความต้องการจำเป็น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งครูดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง พบว่า วงรอบที่ 1 สมาชิกร่วมกันดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของนักเรียน ด้วยการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนออนไลน์ด้วยความหลากหลายและติดตามผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อวางแผนการสนับสนุนต่อไป วงรอบที่ 2 สมาชิกร่วมกันพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่รองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และในโรงเรียน รวมถึงดำเนินการร่วมเครือข่ายกับครูเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลต่อไป วงรอบที่ 3 สมาชิกร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล พร้อมทั้งขยายผลการดำเนินการ เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และการการพัฒนาผู้เรียน โดยการดำเนินการด้วยระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบต่อไป และผลการสังเกต พบว่า ครูในกลุ่มเป้าหมายมีการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยรวม เมื่อดำเนินการครบ 3 ขั้นตอน 3 วงรอบ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รวมกฎหมายการศึกษา ฉบับเพื่อการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย
การศึกษา. กรุงเทพฯ : คอมมิวเคชั่น.
“ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562,” (2562).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136. ตอนที่ 68 ง. หน้า 18-20. 20 มีนาคม.
เชษฐา ทองยิ่ง. (2559). ปัญหาครู : ปัญหารอการปฏิรูป. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
สำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปนัสยา รัตนพันธุ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สาหรับครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิด
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยณัฐ กุสุมาลย์. (2560). แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ใน
การจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,” (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.
หน้า 1-90. 6 เมษายน.
วศินี รุ่งเรื่อง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการ
เรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมศิลปะการสอนของครู.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศราวุธ แวงธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2562. นครพนม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.
. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 22. นครพนม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.
สำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2554). คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ที่ ศธ 0206.4/ว 9 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2554.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562 ก). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ).
กรุงเทพฯ : ออนป้า.
. (2562 ข). “งานเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปี 2562,” 1 กันยายน 2562.
<https://drive.google.com/drive/folders/1OyGjkXa_Z8TT04CNyYIOc2vq9ze
K-A31> 10 เมษายน 2564.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561).“สรุปผลการประชุมทางวิชาการ เรื่อง รวมพลังสรรค์
สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ,” 18 มกราคม 2561.
<http://backoffice.onec.go.th/uploaded2/Outstand/201806/OECForum_20.
pdf> 10 เมษายน 2564.
. (2562). “รายงานเฉพาะเรื่องที่ 8 การปฏิรูปครูและอาจารย์,”
<http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1742> 10 เมษายน 2564.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับ
ปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional
Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวาน
กราฟฟิค.
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2561). “หน่วยที่ 6 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อการ
พัฒนาการศึกษา” ประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 1-7 (23728) (ป.โท). 10 เมษายน 2564.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lalu Hamdian Affandi, Ida Ermiana and H. Muhammad Makki. (2018). “Effective
Professional Learning Community Model for Improving Elementary School Teachers’ Performance,” Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 326, 315-320.
Ramazan Cansoy and Hanifi Parlar. (2017). “Examining the Relationships Between
the Level of Schools for Being Professional Learning Communities and Teacher Professionalism,” Malaysian Online Journal of Educational Sciences, 5(3), 13-27.
Rose Desy Nurkartika and Nani Hartini. (2020). “The Role of the Professional
Learning Community to Develop Teacher Leadership,” Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 526, 274-277.