สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ภูวรินทร์ อะทะวงษา
ศุภกร ศรเพชร
ชาญวิทย์ หาญรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู รวมจำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และด้านการจัดการความรู้ 3) แนวทางการพัฒนาการองค์การแห่งการเรียนรู้ 3.1) ด้านโครงสร้างองค์กร โรงเรียนควรมีเป้าหมายเดียวกัน โดยสร้างความสัมพันธ์จากการปฏิบัติหน้าที่ มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 3.2) ด้านการจัดการความรู้ โรงเรียนควรมีเทคโนโลยีสารสนเทศใช้อย่างเพียงพอเพื่อการจัดการความรู้ และการเผยแพร่ข้อมูล โรงเรียนควรมีการจัดการความรู้ให้อยู่ในระบบสารสนเทศนี้ เพื่อที่จะพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3.3) ด้านการบริหารบุคคล โรงเรียนควรใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่ายของบุคลากรเพื่อการพัฒนา ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้บุคลากรสร้างเครือข่าย มีงบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากร โดยให้บุคลากรสามรถตัดสินใจได้ว่าต้องการพัฒนาตนเองในด้านใด ที่ต้องการและเหมาะสม 3.4) ด้านการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ โรงเรียนควรพัฒนาบุคลากรได้ภายในโรงเรียนเองด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนในการบริหารจัดการ 3.6) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ โรงเรียนควรใช้วิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ผลการประเมินแนวทางพัฒนา โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ศุภกร ศรเพชร , มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนม

ชาญวิทย์ หาญรินทร์, มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนม

References

กิตติ์ธเนศ ทรัพย์แสนล้าน. (2559). แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) เพชรบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

กิตติมา ใจปลื้ม. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี,12(6), 45-60.

ไชยสิทธิ์ ปิยมาตย์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดารากรณ์ ขุนมิน. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ภัทรา อินต๊ะอุ่นวงศ์. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงฯเทพฯ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). กรุงฯเทพฯ.

สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2563). องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม: ปัจจัยการบริหารองค์การยุคใหม่. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 215-230; มกราคม - มิถุนายน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วัชรี จงแจ่ม. (2560). แนวทางการบริหารจัดการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์เพื่อมุ่งไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วจี สมทบ. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ahmad Abd Rahman and Marinah Awang. (2013). Learning Organization and Organizational Commitment in Primary School. Tanjung Malim (Ed.), Economics Development and Research. (p. 55). Malaysia

Messarra, L. C. & El-Kassar, A. (2013). Identifying Organizational Climate Affecting Learning Organization. (Leila Canaan Ed.), Business Studies Journal. (p. 19-28). Oxford University Press Inc.

Youzbashi, A., & Mohammadi, A. (2012). An investigation into the realization dimension of learning organization. Procedia Social and Behavioral Sciences. (pp. 90-92). Iran: University of Isfahan.