สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ธัชชัย ศิรินุมาศ
ทัศนา ประสานตรี
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึ่งประสงค์
ของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และ 3) พัฒนาแนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินความต้องการจำเป็น ด้านที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของชุมชน ด้านการวางแผนและมีเป้าหมายในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และด้านการบริหารจัดการการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3) แนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3.1) ด้านการวางแผนและมีเป้าหมายในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนควรตั้งจุดประสงค์ที่ชัดเจนก่อนเริ่มระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3.2) ด้านความรู้ความเข้าใจบุคลากรเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา บุคลากรควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการระดมทรัพยากรทาง 3.3) ด้านการบริหารจัดการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ควรคำนึงถึงจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนเริ่มการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3.4) ด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรของชุมชน ชุมชนที่เข้ามาควรมีแนวคิดและจุดประสงค์ที่จะระดมทรัพยากรทางการศึกษาเหมือนกัน 3.5) ด้านการมีส่วนร่วมภายในขององค์กรในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา บุคลากรภายในควรเป็นผู้ดำเนินงานหลักในการระดมทรัพยากร 3.6) ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงานการการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ควรตรวจสอบผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3.7) ด้านวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษา บุคลากรควรวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ควรแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาครั้งต่อไป 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ทัศนา ประสานตรี , มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนม

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์, มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนม

References

กนกพร แสนสุขสม (2561). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทิมา อัชชัสวัสดิ์ (2558). การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

ธาดา ยาวังเสน. (2551). การนำเสนอกระบวนการการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิณสุดา สิริธรังศรี (2561). วิจัยการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2561). วิจัยการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ภาณุมาศ เฉลยนาค (2557:218). การนำเสนอกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สพป.พระนครศรีอยุธยาเขต 1 และ 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

วีระวัชร์ สุนทรนันท(2551). การพัฒนาแนวทางการวางแผนการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยากรณีศึกษา: โรงเรียนวัดศรีภวังค์ โรงเรียนวัดทำใหม่โรงเรียนวัดลาด ระโหง. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

สิริมล ละมุน (2558:123). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบ้านบุจังหวัดบุรีรัมย์ สพป.บุรีรัมย์ เขต 3: สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อำนวย ไชยปัน (2550). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา: โรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์สังกัด สพท.เชียงรายเขต 3. เชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.