การสร้างอัตลักษณ์ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พระสุวิจักขณข์ โชติวโร
พระชัษษพณขิ์ สุรปญฺโญ
อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างอัตลักษณ์ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างความสัมพันธุ์ในชุมชน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ผลการวิจัยพบว่า


            รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชมชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุนชนนี้คือ รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์แบ่งเป็นสองส่วนคือ การสร้างอัตลักษณ์ชุมชนด้วยสิ่งที่แตะต้องได้คือรูปโดยเกิดจากความคิด ภูมิปัญญาที่ผ่านระบบการกระทำขึ้นมาให้คนได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างมีกระบวนการต่างๆและการสร้างอัตลักษณ์ภายไต้ความเชื่อหรือศรัทธาที่ก่อให้เกิดการนับถือปฏิบัติสืบทอดจนกลายเป็นวัฒนธรรมโดยมีหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นตัวกลางในการเชื่อม คติความเชื่อถีชีวิตขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แต่ละสังคมจึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป มนุษย์ได้เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตซึ่งแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ มนุษย์จึงเรียนรู้ที่จะจัดระเบียบ ชีวิตให้เจริญขึ้น อยู่ดี กินดี มีความสะดวกสบาย รู้จักแก้ปัญหา นอกจากนี้มีการถ่ายทอดการเรียนรู้เป็น วิถีชีวิตหรือเป็นแบบแผนของการดำเนินในสังคมใดก็จะเรียนรู้และซึมซับในวัฒนธรรมของสังคม


            การพัฒนากระบวนการสร้างความสัมพันธุ์ในชุมชน 9 ดี ในจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า กิจกรมเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในชุมชน มีความสามัคคีและให้ความร่วมมือในการร่วมคิด ร่วมทำ ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย มีจิตสำนึกที่ดีต่อกลุ่มในการร่วมกันพัฒนาและร่วมทำกิจกรรมในชุมชน ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ  การสร้างกิจกรรม และการสร้างพลังบวรตลอดจนการมีพื้นฐานการนับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันและมีความเอื้อเฟื้อต่อกันยิ่งขึ้น กิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขชุมชนร่วมกัน


สร้างอัตลักษณ์ 9 ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า ในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน  วัดนับว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์ชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุขได้  โดยสามารถดำเนินการตามหน้าที่ของพระสงฆ์ให้ความรู้แก่ชุมชนใช้วัฒนธรรมประเพณีในการสร้างอัตลักษณ์    สอดแทรกเนื้อหาการสร้างชุมชนให้เกิดอัตลักษณ์ในระหว่างจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ลูกศิษย์มีคุณลักษณะในการสร้างชุมชนสันติสุข ในบางครั้งมีการจัดอบรมหลักสูตรคุณธรรมจริยธรรมขึ้นมาโดยร่วมกับภาคีเครือข่ายเช่นพระภิกษุสงฆ์ หรือหน่วยอบรมคุณธรรมต่างๆที่ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการรักสันติมีความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระชัษษพณขิ์ สุรปญฺโญ , วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน, (2544). “การเสริมสร้างความเข็มแข็ง”, ในเอกสารประกอบการประชุม เชิง ปฏิบัติการ, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพัฒนาศักยภาพชุมชน.

เกรียงไกร เจริญผล. การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ ดุษฏีนินพนธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เกษียร เตชะพีระ, (2560), “อ่าน ชาวนาการเมือง”, วารสารฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 15 (ฉบับที่ 1), มกราคม – มิถุนายน

กาญจนา แก้วเทพ.(2538). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในสถานศึกษาพยาบาล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรรณิการ์ วรรณธนปรีดา การรวมกลุ่มและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning ในบริบทการสื่อสารแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลา .วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 ปี2547 สืบค้น 24 มกราคม 2563

เกศแก้ว วิมนมาลา. (2539). “ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับเสรีภาพทาง วิชาการ ของอาจารย์พยาบาลในสถานศึกษาพยาบาล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำนงค์ จิตรนิรัตน์. (2541)“การกระทำทางสังคม.” กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์ วิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.

จรูญ สุภาพ. (2550). “การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527) “กลวิธี แนวทางวิธีการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ พัฒนา.” กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2546) . แนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

ชำนาญ วัฒนศิริ. “ความเข้มแข็งของชุมชนและประชาคม”,วารสารพัฒนาชุมชน. 12 (ธันวาคม 2542)

ไชยชนะ สุทธิวรชัย. (2542) “ปัจจัยการมีส่วนรวมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน, ศึกษาเฉพาะ กรณีอําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี.ดุษฏีนิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์.(2527). การประชุมเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา:นโยบายและกลวิธี, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธันยพร กรอบบาง.(2552).อิทธิพลของปัจจัยด้านการรับรู้การสื่อสารอัตลักษณ์ต่อภาพลักษณ์ของ เครือโรงพยาบาลพญาไท. กรุงเทพฯ.