การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ระยะที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อต่อยอดการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนที่ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพครบทั้ง 100% ในจังหวัดมุกดาหาร 2) เพื่อวิเคราะห์และส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนพื้นที่ ส่วนจังหวัดและส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ 100% ในจังหวัดมุกดาหาร 3) เพื่อพัฒนาโมเดลแก้จนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืนในจังหวัดมุกดาหาร 4) เพื่อพัฒนาระบบการหนุนเสริม และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่/จังหวัดในจังหวัดมุกดาหาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการต่อยอดการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนทำได้ จำนวน 5,575 ครัวเรือน คิดเป็น 98.50% ยังเหลืออีก 85 ครัวเรือน คิดเป็น 1.50% จากเป้าหมายทั้งหมด 5,660 ครัวเรือน (100%) 2) สามารถส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 หน่วยงาน มีระบบส่งต่อความช่วยเหลือและติดตามที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านที่อยู่อาศัย 2. ด้านอาชีพ 3. ด้านการศึกษา คนจนได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการพัฒนาอาชีพจำนวน 677 ครัวเรือน 2,759 คน 3) โมเดลแก้จนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืนในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 3 โมเดล ประกอบด้วย 1. Process Innovation (โมเดลแผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร) 2. Process Innovation (โมเดลอำเภอนิคมคำสร้อย) 3. Product Innovation (โมเดลหม่อนแก้จน) อำเภอนิคมคำสร้อย 4) ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดมุกดาหารในแผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหารระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570
Article Details
References
พารีซาร์ สะมะ. (2559). การแก้ไขปัญหาความยากจน.ตามโครงการการบริหารจัดการครัวเรือน
ยากจนแบบบูรณาการ. อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กรุงเทพฯ.
พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2564). กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความ
ยากจนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal),
(2), 260
Kalasin Provincial Office. (2018). Kalasin Happiness Model Kalasin People's Plan
Leaves No One Behind 2018 –2021.Kalasin Provincial Development Plan
-2021.