เครือข่าย ชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม ในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “เครือข่าย ชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่าย 9ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่าย 9ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อวิเคราะห์การเชื่อมโยงเครือข่าย 9ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้คือชุมชนต้นแบบคุณธรรมหมู่บ้านสันติสุข 9ดี ประกอบด้วย 1) บ้านตะโคง หมู่ 1 ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน 2) บ้านบุ หมู่ 12 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน 3) บ้านหนองเต็งใหญ่ หมู่ที่ 17 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง 4) บ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ 5) บ้านตลาดโพธิ์ ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ 6) บ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช 7) บ้านโคกเหล็ก ตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราช และ 8) บ้านนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mix-method) และวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า แนวทางการเสริมสร้างเครือข่าย 9ดี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ มีแนวทางการเสริมสร้างเครือข่าย ทั้งในระดับจังหวัด ระดับตำบล และระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน มีกระบวนการดังนี้ 1) การสร้างความเข้าใจ ในกระบวนการวางแผนและการบริหารงานทุกระดับ 2) จัดตั้งองค์กรและคณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9ดี ในทุกระดับ 3) จัดทำธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9ดี 4) กำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้านฯ ในภาพรวมทั้งจังหวัด 5) การขับเคลื่อนการทำแผนชีวิตหมู่บ้านสันติสุข 9ดี เพื่อให้ทุกหมู่บ้านนำธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9ดี มาสู่การปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านให้บรรลุวัตถุประสงค์ ส่วนการวิเคราะห์การเชื่อมโยงเครือข่าย 9ดี พบว่าประเภทของเครือข่าย ประกอบด้วยเครือข่ายเชิงพื้นที่ เครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม และเครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่ สำหรับปัจจัยความสำเร็จในการจัดทำธรรมนูญสันติสุขชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 5 องค์ประกอบคือ มีผู้นำ มีคณะกรรมการหมู่บ้าน การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชน ความศรัทธาของชุมชน และการประเมินผลที่มีคุณภาพ
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.)การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของชุมชน. กองการศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย และคณะ. การพัฒนาธรรมนูญพลเมืองสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9ดี จังหวัดบุรีรัมย์. คณะรัฐศาสตร์และนิสิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, หน้า 140.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548) เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต.
สหประชาชาติ ประเทศไทย. เป้าหมายที่ ๑๖. สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง. สนับสนุน สังคมที่สงบสุขและครอบคลุมที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพมีความรับผิดชอบ และทุกคนสามารถเข้าถึงใน ทุกระดับ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thailand.un.org/th/sdgs/16.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564, สำนักนายกรัฐมนตรี.
องค์กรคุณธรรม สร้างคนดี สังคมดี, บุรีรัมย์ สังคมสันติสุข ดอกผลจากธรรมนูญ 9 ดี [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://dl.moralcenter.or.th/images/discipline/2.pdf