โปรแกรมการใช้ศิลปะมานดาลาและสุนทรียสนทนาเชิงพุทธเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

Main Article Content

เมธทิพา ศุภผลศิริ
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “โปรแกรมการใช้ศิลปะมานดาลาและสุนทรียสนทนาเชิงพุทธเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ เรื่อง ศิลปะมานดาลา สุนทรียสนทนาเชิงพุทธ และการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2. เพื่อสร้างโปรแกรมการใช้ศิลปะมานดาลาและสุนทรียสนทนาเชิงพุทธเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 3. เพื่อนำเสนอผลการใช้โปรแกรมการใช้ศิลปะมานดาลาและสุนทรียสนทนาเชิงพุทธเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) ได้กลุ่มตัวอย่าง 374 คน ผลการศึกษาพบว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบน มีค่าภูมิคุ้มกันทางใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ที่คะแนนเฉลี่ย 65.40 การสร้างโปรแกรมการใช้ศิลปะมานดาลาและสุนทรียสนทนาเชิงพุทธ เพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน RQ Mandala Program ประกอบด้วย 1) เส้นสายสร้างสติ 2) เกลี่ยวกลายสายใยรัก 3)  ก่อร่างสร้างคุณค่า 4) ร้อยเรียงเรื่องราว 5) สู่เป้าหมายที่ไฝ่ฝัน 6) สร้างสรรค์เส้นทางชีวิต  หลังจากนำโปรแกรมไปใช้กับกลุ่มทดลองจำนวน 8 คน ผลการทดลองพบว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินกลุ่มทดลอง มีภาวะภูมิคุ้มกันทางใจเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

เฌอศาสน์ ศรีสัจจัง, จับตาขาลงอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก, [ออนไลน์] , แหล่งที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/284920 [15 มิ.ย. 2563].

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, อาร์คิว … ภูมิคุ้มกันทางใจ, [ออนไลน์], [29 เม.ย. 2563].

นภวรรณ มั่นพรรษา, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, “การระบายสีภาพมานดาลาต่อความวิตกกังวล และความสนใจ-สมาธิ”, วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (เม.ย-มิ.ย. 2563): 101-104.

นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์ , “ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการฟื้นพลังของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร”, รายงานวิจัย, (คณะมนุษยศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558): 2

ปาริชาด สุวรรณบุปผา, Happy and Peaceful Life through Dialogue at the Youth Detention Center, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.gnh-ovement.org/papers/suwanbubha.pdf [23 .ค. 2552].

รติกร เพมบริดจ์, “การพัฒนารูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนา เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพ”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561) หน้า 53.

รัชนีกร ชะตางาม,อนุชา แพ่งเกษร, “การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมพื้นที่แห่งความสุข กรณีศึกษาศิลปะบำบัดเพื่อพัฒนาสมาธิในเด็กสมาธิสั้น”, วิทยานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร ,2560) หน้า 53.

ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, “การใช้มานดาลาเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนิสิตปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย”, วารสารครุศาสตร์, ปีที่ 44 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2559): 176-187.

สายอักษร รักคง , “การเยียวยาสภาวะทางจิตด้วยศิลปะบำบัด” , วารสารศิลป์ พีระศรี, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (2563): 76.

Grotberg E. H, A guide to promoting resilience in children: Strengthening the humanspirit,[online].From:http://resilnet.uiuc.edu/library/grotb95b.html [25 ม.ค. 2563].

Kendra Cherry ,10 ways to build your resilience, [online], From: https://www.verywellmind.com/ways-to-become-more-resilient-2 [25 ม.ค. 2563].

Schein, E. H. (1993). On dialogue, culture, and organizational learning. Organizational dynamics, 22(2), 40-52.

Susanne F. Fincher, Creating Mandalas for insight, healing, and self-expression, (Boston: Shambhala publications, 2010) p. 2.

The Bangkok insight editorial team, อัพเดทสถานการณ์ ‘ไวรัสโควิด 19 - 31 มีนาคม 2563 [ออนไลน์],แหล่งที่มา: https://www.thebangkokinsight.com/322451/ [15 มิ.ย. 2563].