การพัฒนาคู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่อง ด้านการคิดคำนวณ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ 2) พัฒนาคู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ 3) เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 267 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ หาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้คู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการส่งต่อ ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน ด้านการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การจัดการเรียนรู้ และด้านการบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 2) คู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์และคำชี้แจง เนื้อหา 7 บท ได้แก่ บทที่ 1 เรื่องน่ารู้ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ บทที่ 2 ปัญหาด้านการคิดคำนวณ บทที่ 3 การบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม บทที่ 4 การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล บทที่ 5 การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ บทที่ 6 การวัดและประเมินผลผู้เรียน และบทที่ 7 การส่งต่อ ผลการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของคู่มือ พบว่า ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 3) ผลการประเมินคู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ พบว่า ความเหมาะสมและความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กฤช วีระพลพล แก้วกลาง. (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เกริกฤทธิ์ นิลอุบล. (2563, ตุลาคม). การพัฒนาคู่มือครูการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 182- 196.
ชุตินันท์ เทือกสุบรรณ. (2563, กันยายน-ตุลาคม). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรวม ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 203-214.
ณัฏฐ์ภรณ์ มิ่งเมืองนล. (2563, ตุลาคม-ธันวาคม). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานแนะ แนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 164.
ปิยะวรรณ เวชสุวรรณ. (2563). การพัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พัชนี ประสิทธิธัญกิจ (2564, มกราคม-มิถุนายน). สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วม ตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ กลุ่มโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 109-201.
สุเทพ ไชยวุฒิ. (2558). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.