รูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง มีวิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์สภาพความสุขในการทำงาน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาสภาพความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง พบว่าสภาพความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ด้านอารมณ์เชิงบวก ด้านการรับรู้ถึงความหมายของชีวิต หรือสิ่งที่ทำ ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเอง และด้านสุขภาพทางกายและทางใจ มี 38 ตัวชี้วัด ผลการสร้างรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง พบว่ารูปแบบ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย ปกเอกสาร รายนามผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมสนทนากลุ่ม วัตถุประสงค์ของการสนทนากลุ่ม ความเป็นมาของงานวิจัย คำถามการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย การดำเนินงานวิจัยในภาพรวม นิยามศัพท์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาประกอบด้วย ที่มาของหลักการ แนวคิดและทฤษฎี รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง ส่วนที่ 3 ประเด็นวิพากษ์ในการตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง และผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง พบว่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวมของรูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2554). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพ ฯ : สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กษมา ช่วยยิ้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหาร และ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ชินกร น้อยคำยาง และปภาดา น้อยคำยาง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการ ทำงาน ของบุคลากร สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รายงานการวิจัย). นครนายก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา.
บรรจง เจริญสุข. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2556). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติ ศึกษาปริทรรศน์ มจร., (6), 40 - 50.