กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามแนวพุทธ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3)วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
- กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามแนวพุทธ แนวทางในการพัฒนาชีวิตและพฤตินิสัยตามหลักพุทธศาสนามี 2 ขั้นตอน ขั้นนำสู่สิกขา คือ ขั้นของการฝึกฝนตนเองในการศึกษา การฝึกฝนให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นรากฐานของการฝึกและพัฒนาตนเอง ขั้นไตรสิกขา เป็นขั้นการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์แบบ และในขั้นนี้ต้องมีการศึกษาเรื่องศักยภาพของมนุษย์ โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพฤตินิสัยของผู้ต้องขังได้แก่ หลักภาวนา 4 และหลักจักร 4
- กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยศึกษาพุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิตและพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ตามหลักภาวนา 4 และการพัฒนาชีวิตและพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามหลักจักร 4
3 วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ กระบวนการ พัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ ตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ สุขภาวะทางกาย เป็นกระบวนการพัฒนาที่เน้นการดูแลผู้ผู้ต้องขังเพื่อสร้างเสริมร่างกายให้มีสุขภาวะ ด้านสุขภาวะทางสังคม เป็นกระบวนการพัฒนาที่เน้นการดูแลผู้ผู้ต้องขังเพื่อสร้างเสริมสังคมให้มีสุขภาวะ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ เป็นกระบวนการพัฒนาที่เน้นการดูแลผู้ผู้ต้องขังเพื่อสร้างเสริมจิตให้มีสุขภาวะ และด้านสุขภาวะทางปัญญา กระบวนการพัฒนาที่เน้นการดูแลผู้ผู้ต้องขังเพื่อสร้างเสริมปัญญาให้มีสุขภาวะ และกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ ตามหลักจักร 4 ได้แก่ ด้านปฏิรูปเทสวาสะ วิถีชีวิตผู้ต้องขังด้วยการอยู่ในถิ่นที่ดี ด้านสัปปุริสูปัสสยะ โดยทางเรือนจำได้ให้การอบรมให้ผู้ต้อง ขังคบกับเพื่อนที่ดีหรือคนดีตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ด้านอัตตสัมมาปณิธิ โดยทางเรือนจำได้อบรมให้ผู้ต้องขังประพฤติปฏิบัติการตั้งตนไว้ชอบ มีหลักปฏิบัติเบื้องต้นก็คือพึงเป็นผู้มีศีล 5 และ ด้านปุพเพ กตปุญญตา โดยทางเรือนจำได้ฝึกให้ผู้ต้องขังเกี่ยวกับการกระทำบุญ เป็นหลักการที่พึงปฏิบัติ
Article Details
References
กรมราชทัณฑ์. (2548) .คู่มือการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ราชทัณฑ์
_________. มาตรฐานเรือนจำ. (2548) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ราชทัณฑ์
เกื้อ วงศ์บุญสิน.(2554) ประชากรกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัทธีจิตสว่าง.(2542) คู่มือเจ้าพนักงานเรือนจำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ราชทัณฑ์
_________. (2542) .หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์,
ประกาศกระทรวงยุติธรรม, (2545) เรื่อง “การกำหนดส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ”
ประเวศ วะสี.(2550) วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ศูนย์ หนึ่ง เก้า. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา
ปราณี รามสูต และจำรัส ด้วงสุวรรณ. (2555).พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี