การศึกษาภาพสะท้อนสังคมในบทสวดสรภัญญะ บ้านแคนน้อย ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

Main Article Content

ฐิตารีย์ ยะโสธรา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษารูปแบบคำประพันธ์ของบทสวดสรภัญญะของชาวบ้านแคนน้อย 2) เพื่อจำแนกประเภทของบทสวดสรภัญญะที่ปรากฏในการรับรู้ของชาวบ้านแคนน้อย และ 3) เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในบทสวดสรภัญญะบ้านแคนน้อย   ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งสามารถรวบรวมบทสวดสรภัญญะได้ทั้งสิ้นจำนวน  62 บท


               ผลสรุปวิจัยพบว่านำมาจัดจำแนกประเภทเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ 1) ประเพณีอีสาน พิธีกรรม  และความเชื่อ  2) การบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระคุณของครู-อาจารย์ 3) วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน  4)การแสดงความกตัญญูกตเวที ระลึกถึงพระคุณของบิดา และมารดา  5) เหตุการณ์และสถานการณ์สำคัญ 6)การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จและพระบรมราชินีนาถ 7) หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา  8)การพรรณนาธรรมชาติ และสิ่งที่อยู่รอบตัว


การจัดจำแนกภาพสะท้อนของบทสวดสรภัญญะที่ปรากฎในการรับรู้ของชาวบ้านแคนน้อยผู้วิจัยพบว่าสามารถจัดจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ ภาพคติความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน ภาพความนิยมวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ภาพเหตุการณ์สำคัญและวิถีชีวิตของผู้คนชาวอีสาน  และภาพความสัมพันธ์ของผู้คนในวัฒนธรรมอีสาน 


               กล่าวโดยสรุป บทสวดสรภัญญะที่ปรากฏในการรับรู้ของชาวบ้านแคนน้อย ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร  สามารถนำเสนอภาพการดำเนินชีวิตในทางที่ยึดโยงพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ การทำบุญเพื่อหวังผลในบั้นปลาย เป็นการวางแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้คนผ่านตัวบทสรภัญญะที่มีการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามไว้ชั่วลูกหลาน  กล่าวได้ว่าการสวดสรภัญญะถือได้ว่าเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่นำเสนอภาพการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับศาสนาของชาวบ้านแคนน้อย และผู้วิจัยเชื่อมั่นว่าการสวดสรภัญญะจะยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่คู่ชมชนแคนน้อยตลอดไป

Article Details

บท
Research Articles

References

นิศารัตน์ ศิลปเดช. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน .

พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยถูมิเขต 1. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทร ธมฺมวโร (บุญคง). (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนมจังหวัดระยอง. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิตศรรษ์ วงษ์อนันต์และคณะ. (2561). การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่ 10 ตำบลขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี. รายงานการวิจัย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.

Taro Yamane(1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York.Harper and Row.