การพัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 19 คน ขั้นตอนในการวิจัย มี 5 ขั้นตอน 1) การศึกษาความต้องการในการพัฒนา 2) การวางแผนและออกแบบการพัฒนา 3) การดำเนินการตามแผนการพัฒนา 4) การติดตามและการประเมินผล และ 5) การสะท้อนผลสู่การปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังอบรม แบบประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม แบบประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยี แบบประเมินโครงการฝึกอบรม แบบประเมินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Nonparametrics แบบ Willcoxon Sign Rank Test ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชั่นที่ครูสนใจนำมาใช้จัดการเรียนรู้ คือ Google Meet, Quizizz OBS Studio, Liveworksheet, และ Google App ด้วยวิธีการอบรม แบบ On-site ระยะเวลา 3 วัน ใน วัน เวลา ราชการ และความคาดหวังในการอบรม คือ นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสื่อการเรียนรู้ ด้วย Google Meet, Google App, Liveworksheet, Quizizz, Power Point & OBS และการสร้างแบบทดสอบ ด้วย Google App และ Quizizz อยู่ในระดับดีมาก ด้านความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม ด้านทักษะ มีคะแนนเฉลี่ยทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการจัดการเรียนรู้ ด้วย Google Meet, Google App, Liveworksheet, Quizizz, Power Point & OBS อยู่ในระดับดีมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2561–2564. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง
__________. (2564). การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. [ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ]. กรุงเทพมหานคร :
ผู้แต่ง
ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรองและอุดม ตะหน่อง. (2563).
ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563), 8 - 9. ค้นเมื่อสิงหาคม 24, 2564 จากเว็บไซต์ https://so01.tcithaijo.org/index.php/
มณฑา จำปาเหลือง. (2563). การประกันคุณภาพการศึกษา. เอกสารคำสอน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี : ผู้แต่ง
ยศวัฒน์ คำภู. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิไลวรรณ อินทรรักษา. (2560). การดำเนินงานในส่วนงานการฝึกอบรม. วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา
รัชนุช สละโวหาร. (2564). การบริหารจัดการการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี. สำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี : ผู้แต่ง.
อินทิรา ชูศรีทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.