แนวทางการพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์จำนวน 339 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นครูโดยการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan. และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แบบ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และปัญหา และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1.ศึกษาองค์ประกอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่าจากการสัมภาษณ์เพื่อทราบองค์ประกอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มี 5 องค์ประกอบ 1) ด้านรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) ด้านการส่งต่อ
2.ศึกษา สภาพปัจจุบันของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสุรินทร์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและสภาพปัญหาของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 5 องค์ประกอบ 19 ตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดโดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546 ข). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธานี สุขโชโต และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียน
การสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์,
(2), 143- 154.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการ
สอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬา
กรณ์, 2(3), 1- 17.
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563), จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. [ออนไลน์,แหล่งที่มา:
https://dri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19- pandemic, (15กรกฎาคม 2563)
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. พิม
ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
สันติสุข สันติศาสนสุข และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน.
กรุงเทพฯ : สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.(2564). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอน : สำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.
อัษฎายุท โพธิ์นอก. (2558). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Biddle, Virginia Sue. (2009, February) “Student Assistance Program Outcomes of Students at Risk for Suicide,” Dissertation Abstracts International. 69(8) : unpaged.