แนวทางการนำวัฒนธรรม 4 ชาติพันธุ์จังหวัดศรีสะเกษ มาใช้เพื่อโอกาสการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำวัฒนธรรม 4 ชาติพันธุ์จังหวัดศรีสะเกษมาใช้เพื่อโอกาสการท่องเที่ยว โดยศึกษากลุ่มเป้าหมายชุมชนท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ 4 เผ่าจังหวัดศรีสะเกษซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ได้แก่ ชุมชนชาวลาวบ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ ชุมชนชาวเขมรบ้านตระกวน อำเภอศรีรัตนะ ชุมชนชาวเยอบ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง และชุมชนชาวกูยบ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนทั้งคนภายในชุมชนและภายนอกชุมชน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการบรรยายพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 ชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมวิถีชีวิต ประเพณีและพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงเดิม กระบวนการจัดการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญให้เกิดกระบวนการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่และการสร้างคุณค่าให้กับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่นทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและมิติทางสังคม โดยการนำเสนอเรื่องราวของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ผ่านการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดกระบวนการเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและเห็นคุณค่าจากการมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง แนวทางการนำวัฒนธรรม 4 ชาติพันธุ์จังหวัดศรีสะเกษมาใช้เสริมโอกาสการท่องเที่ยวมี 4 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นและเครือข่าย ด้านการบริการการท่องเที่ยว และด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงเครือข่ายท่องเที่ยว และยกระดับเป็นเส้นทางท่องเที่ยว 4 เผ่าศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ในจงหวัดศรีสะเกษอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
กระทรวงมหาดไทย, กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว
OTOP นวัตวิถี.กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561 (Tourism
Statistics 2018) สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2565. Retrieved from
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565 และเกณฑ์
คัดเลือก 303 ชุมชน สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565. Retrieved from https://www.mots.go.th
คุณวัฒน์ ดวงมณี และคณะ(2561). การศึกษาอัตลักษณ์ของชน4เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ.
ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ.
ฐิตาภา บารุงศิลป์. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยพะเยา, เชียงราย.
ปราณี วงศ์เทศ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ประดิษฐ์ ศิลาบุตร.2550.เยอศรีสะเกษ อดีต ปัจจุบันและอนาคต.ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ.
ประพันธ์ กุลวินิจฉัย.2555.มานุษยวิทยา สังคมและวัฒนธรรม. คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัย
อิศรา จันทร์ทอง. 2544. บทบาทหน้าที่ของพิธีแก็ลมอของชาวกูยสำโรงทาบ อำเภอ
สำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพฯ :
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2546.
Alvesson, Mats. Oeganization, Culture and Ibeology. International Studies of
Encyclopedia Britannica : Macropaedia 24, pp. 306–309.
Joann L. Scrock., et al. Ethnographic Study Series Minority Groups in
Thailand. Center for research in Social Systems: Department of The Army, United State of America, 1970.
Seidenfaden, Eric. The Kui People of Cambodia and Siam. Journal of Siam
Society 39, Part2 (January 1952): 144-180.