การส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ลินดา วงศ์ดาว
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ มีขั้นตอนการจัด  การเรียนรู้อยู่ 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นอภิปราย ขั้นสรุปและนำไปใช้ และขั้นประเมินผล ซึ่งมีประเด็นที่ควรเน้นดังนี้ การใช้คำถามเป็นลำดับจากง่ายไปยากเพื่อทบทวนความรู้ การใช้เกมเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมกลุ่มที่ให้นักเรียนได้ระดมความคิดและอภิปรายข้อมูลร่วมกัน การให้นักเรียนนำเสนองานหน้าชั้นเรียนและร่วมกันอภิปรายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องสมบูรณ์ การให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตจริง และการชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนนอย่างละเอียด 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติอยู่ในระดีมาก ทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการบรรยายข้อมูล ด้านการรวบรวมและเปลี่ยนแปลงข้อมูล ด้านการนำเสนอข้อมูล และด้านการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles
##submission.authorBiographies##

##submission.authorWithAffiliation##

ศึกษาศาสตร์

##submission.authorWithAffiliation##

ศึกษาศาสตร์

参考

จักรพันธ์ คุณา. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การอภิปรายในชั้นเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฑาภรณ์ แสนเพ็ชร. (2560). การจัดการเรียนการสอนตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม

การให้เหตุผลเชิงสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

พิลาลักษณ์ ทองทิพย์. (2550). การศึกษาการให้เหตุผลทางสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนภา ตลับกลาง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธี

สอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขียนเขต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ม.ป.ป.). ประโยชน์ของข้อมูลทางสถิติ. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564. จากhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat2_2.html

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560) คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระ

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2553). การศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติของนักเรียนระดับประถมปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์, 212), 9-22.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2556). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปสู่ชีวิตจริงโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้

รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

วารสารศึกษาศาสตร์, 24(1), 15-33.

Aslam, A., and Mazher. (2015). Enhancing communication skills of ESL primary

students through activity based learning. European Journal of Language Studies, 2(1), 1-15

Awasthi, D. (2014). Activity-based Learning Methodology can bring improvement inquality of education in India. Research paper of GLRA – Global Journal for Research Analysis, 3(August).

Ayotola, A., and Ishola, A. (2013). Preparation of Primary Teachers In Pupil-CenteredActivity-Based Mathematics Instructions and Its Model. Proceeding In 1st Annual International Interdisciplinary Conference.

Ben-Zvi, D. and J.B. Garfield (2004). The challenge of developing statistical literacy, reasoning and thinking, Springer.

Gal,I.,and Garfield,J. (1997) The Assessment Challenge in Statisticals Education.Amsterdam: IOS Press and the International Statistical Institute.

Garfield, J. and D. Ben-Zvi (2008). Developing student’statistical reasoning:

Connecting research and teaching practice, Springer Science & Business

Media.

Festus. (2013). Activity -Based Learning Strategies in the Mathematics

Classrooms. Journal of Education and Practice, 4(13), 8-14.