การพัฒนาความสามารถการเขียนสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นภัค วุ่นกลัด
ทรงภพ ขุนมธุรส
อ้อมธจิต แป้นศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้
โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถ
การเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้
ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ 2) แบบประเมินความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพ () ค่าเฉลี่ย() ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่า t-test แบบ Dependent ผลวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมการจัดการเรียนรู้เหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.53, S.D=0.61) และมีค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ () เท่ากับ 86.78/83.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.57 และ 25.17 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.22 และ 4.40 ตามลำดับ โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05




Article Details

บท
Research Articles

References

กมล โพธิเย็น. (2547). รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถด้าน

ทักษะการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลด์. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานดา เดชวงศ์ญา. (2553). การใช้วิธีสอนแบบเลือกสรรที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการเขียน

เรียงความเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกศแก้ว คงคล้าย. (2562). ผลของการเรียนรู้จากตัวแบบร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้

ที่มีต่อความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและเจตคติต่อการอ่านทำนองเสนาะ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จีรศักดิ์ ดีสะเมาะ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความสามารถ

ในการใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ในชีวิตประจำวันสำหรับ

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มยุรา กล่อมเจริญ. (2559). การใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีสแกฟโฟลด์

เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขต

กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรินฐ์ญา พิลาวรรณ. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิง

คณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทักษะการเชื่อมโยงและเจตคติ

ต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตร

และการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(14), 129-138.

สมทรง สุภาพ. (2557). การพัฒนาโมดูลการอ่านภาษาอังกฤษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เน้น

รูปแบบการสอนเทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน

ภาษาอังกฤษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชาดา พันธุ์รัตน์. (2558). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการ

เรียนรู้จากการสังเกต สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุพาพร แซ่ฮึง. (2559). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เพื่อพัฒนาความสามารถในการ

เขียนสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาย

น้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bandura. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs: N.J.: Prentice Hall.