การพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชี ของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน 2) ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีให้กับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน และ 3) ศึกษาผลที่เกิดจากการพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่โครงการ โคก หนอง นา โมเดล อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 กลุ่ม รวม 22 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ Paired-Samples T-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปของความเรียง ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชี ผ่านกระบวนการฝึกอบรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาขาย และการวิเคราะห์กำไร หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภายหลังการฝึกปฏิบัติจริง พบว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนมีศักยภาพด้านการบัญชีอยู่ในระดับมาก โดยมีทักษะด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ และด้านความรู้ โดยมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถทราบต้นทุนการผลิตที่แท้จริง สามารถกำหนดราคาขายได้เหมาะสม มีกำไรจากการดำเนินงานตามที่คาดหวัง และมีข้อมูลสำคัญในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงสนับสนุนได้ว่าการพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีสามารถช่วยให้การดำเนินงานของกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). บทความเรื่อง ระวัง! 'ขายดี' จน 'เจ๊ง' เพราะไม่ทำ 4 เรื่องนี้. สืบค้นเมื่อ 12
ธันวาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/942990.
ทิพย์วัลย์ ศรีพรม, อัจฉรา สินไชยกุลและณัฐธิดา จุมปา. (2563). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้าน
ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อการเข้าสู่มาตรฐานระบบการจัดการผลิตภัณฑ์ของชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13(3), 59-73.
พรรณิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุนหลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร
วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 47-56.
ลลิตา พิมทา. (2563). การพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของกลุ่มสินค้าเกษตร
อินทรีย์ ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 71-83.
วรลักษณ์ วรรณโล, สุชาติ ลี้ตระกูล, วัฒนา ยืนยงและชูศรี สุวรรณ. (2558). การพัฒนาหลักสูตร
การฝึกอบรมการจัดทำ บัญชีธุรกิจขนาดเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(ฉบับพิเศษ), 64-84.
วีระวรรณ ศิริพงษ์. (2560). การใช้บัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัด
สงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 59-72.
สมเกียรติ์ อินตาวงค์ และสนธยา เอี่ยวซิ้ว. (2562). การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนเพื่อการบริหาร
และเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบ้านธิ อำเภอธิ จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 165-176.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ : บริษัท กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮาส์
จำกัด
สายเพชร อักโข, รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์, จริยา อ่อนฤทธิ์, ศุภกัญญา จันทรุกขา. (2560). การ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรท่าขุนแผน ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด
อุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(12), 56-76.
Molenda, M. (2003). In Search of the Elusive ADDIE Model. Performance
Improvement, 42(5), 34-36.