การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

สุชาวดี พรมศรี
ชิดชไม วิสุตกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  2) ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสังกัดเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t–test for dependent samples  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนร้อยละ 90 มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70  และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก (X̅= 4.41 , S.D.= 0.58)

Article Details

บท
Research Articles

References

กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์. (2562). ผลการจัดอันดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยดัชนี EF English Proficiency Index ปี 2019. สืบค้นจาก https://thestandard.co/ef-english-proficiencyindex-2019.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐมน วงศ์ทาทอง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ3R โดยใช้ข้อมูลอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ดุษฎี นาหาร. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ SQ3R. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3). 26-28.

ปทิตตา สัตตภูธร. (2562). ผลการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ปานทิพย์ ผ่องอักษร และละเอียด แจ่มจันทร์. (2561). การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : ถอดบทเรียนจากผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3). 1-9.

ศศิโสภา แสงกมล. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 5(3), 34-42.

Bee Choo, Y. & Zainuddin, N.S. (2018). The Use of E-book to Improve Reading Comprehension among Year 4 Pupils. Journal of English Education, 3(1, May), 23-32.

Bickel, J.M. (2017). Electronic Books or Print Books for Increased Reading Comprehension and Vocabulary Acquisition in Third Grade Students. Cal Poly Humboldt theses and projects. 53. https://digitalcommons.humboldt. edu/etd/53

Robinson, F.P. (1961). Effective study. Glasgow: Harper; Revised edition.