การมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่น ในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อนุวัฒน์ นาคพรมพะเนาว์
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
ชาญชัย ฮวดศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่น ในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่น ในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยประยุกต์ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 171 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า


            1) ระดับการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่น ในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการจัดการตลาดท่องเที่ยว 3) ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4) ด้านการประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.19) 2) นักการท้องถิ่นเมืองที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท้องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางในการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่น ในการส่งเสริมวัดให้เป็นแหล่งท้องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยประยุกตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า 1) ด้านฉันทะ ช่วยกันอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีอยู่แล้ว ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างแท้จริง 2) ด้านวิริยะ ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวลักษณะปฏิบัติธรรมบูรณา การกับการอนุรักษ์โบราณสถานและศึกษาประวัติศาสตร์ ดำเนินการตามกระบวนการส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมการปฏิบัติธรรมเชิงรุกให้แก่ชุมชน 3) ด้านจิตตะ ควรพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น และทักษะทางด้านภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ด้านวิมังสา ควรดูแล รักษา แหล่งวัฒนธรรมอยู่สม่ำเสมอ บูรณาการวิถีชีวิตความเป็นไทยร่วมกับศาสนาอื่นอย่างสันติสุข

Article Details

บท
Research Articles

References

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2553) ความหมายของการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :

https://touris-matbuu.wordpress.com./ความรู้เบื้องต้นการท่องเที่ยว ..[1 สิงหาคม

.

จุฑาภรณ์ หินซุย (2557) แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ : กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม

อำเภอ ศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พระครูอุดรภาวนาคุณ (สจฺจาสโภ) (2563) แนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด

ในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วารสารสันติ

ศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2563)

สุชาดา รักเกื้อ, (2560) “แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร” รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 4, สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (22 ธันวาคม 2560): 869.

ธีระวัฒน์ แสนคำ, พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ, และบุษกร วัฒนบุตร, (2561)

“ยุทธศาสตร์การ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด เลย”, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) (เมษายน-มิถุนายน 2561): 405.

พระครูภาวนาเจติยานุกูล, ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และพัฒน์นรี อัฐวงศ์, (2560) “การมีส่วนร่วมของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดแพร่”, วารสารบัณฑิตปริทรรศน์, มจร วิทยาเขตแพร่, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560) 4.

ธัญญ์นิธิ จันทร์เหลือง, (2559) “ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” วารสารบัณฑิตศึกษามหา จุฬาขอนแก่น, ปีที่ 3 ฉบับ ที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559), 11.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา, (2562) “การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากร

องค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี”, วารสารมหาจุฬานาคร

ทรรศน์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม 2562): 2460