การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา มหาสารคาม

Main Article Content

ศุฑาวัฒน์ ไชยสา
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตยและเพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม  ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 386 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ทั้งด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตยและด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตย โดยรวมมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ  0.59   ซึ่งสูงกว่าด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษาซึ่งมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.47 2) ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ได้แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตย 13 แนวทาง และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา 9 แนวทาง รวม 22 แนวทาง ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ :ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.

นงคราญ อนุกูล. (2558). รูปแบบการส่งเสริมประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรของ

สภานักเรียนระดับมัธยมศึกษาภาคอีสาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระปลัดสมชาติ ศิริปรีชารักษ์. (2556). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน

พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวรสาร, 9(1), 67-82.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล, และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่

การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขต

เบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสาร OJED. 9(3): 392-406.

วชิระ เสระทอง. (2563). การพัฒนาประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

สังกัดสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The Third National Conference on Public Affairs Management in the Digital Era).

วันชัย หวังสวาสดิ์ และคณะ. (2560). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัด สำนัก

งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ :

ประสานการพิมพ์.