การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา (GeoGebra) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ก่อนและหลังเรียนโดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอกโดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสถิติที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.03/78.03 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2560). กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุหลาบ สีชาลี. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวกลบคูณหารระคนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2560). สถิติสำหรับการวิจัย. Statistics for research มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา Educational Research. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
รจนา ลีประโคน. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ทักษะ/กระบวนการทาคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมเกียรติ พาบุ. (2558). การใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของ Polya เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.