ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินบูรณะ

Main Article Content

อภิรติต์ อบเชย
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสัมพันธภาพในครอบครัว บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และทักษะชีวิต เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคล สัมพันธภาพในครอบครัว และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับทักษะชีวิต เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล สัมพันธภาพในครอบครัว บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และทักษะชีวิต เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินบูรณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินบูรณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ตอนที่ 3 แบบสอบถามด้านสัมพันธภาพในครอบครัวของนักเรียน ตอนที่ 4 ทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่า t - test ค่า F- test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน(Stepwise) ใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิต  ผลการวิจัยพบว่า 1. สอดคล้องกับสมมติฐาน สรุปได้ว่า 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิต ได้แก่ เพศ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงออก แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบประณีประนอม แบบมีจิตสำนึก และการพูดคุยปรึกษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญ 2. ผลการวิเคราะห์ระดับค่าคะแนนของตัวแปร บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ สัมพันธภาพในครอบครัวและทักษะชีวิต  พบว่า นักเรียนมีทักษะชีวิต อยู่ในระดับสูง (X̅ = 3.98 , SD = 5.18) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิต บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบในภาพรวมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.37 สัมพันธภาพในครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.66 3. สรุปผลการเปรียบเทียบได้ว่า นักเรียนที่มีเพศ แผนการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีทักษะชีวิตไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบโดยรวมแตกต่างกัน มีทักษะชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีระดับสัมพันธภาพในครอบครัวแตกต่างกัน มีทักษะชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณมีค่า เท่ากับ .81 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณที่ปรับแก้มีค่าเท่ากับ .65  มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 65

Article Details

บท
Research Articles

References

กาญจนา คงสวัสดิ์. 2551. โรงเรียนของเราให้อะไรกับเด็กอนุบาลบ้าง. (Online). 6 เมษายน 2566

http://www.edba.in.th/kinder/doc/Rongrian_HaiAraiKapDek.pdf.

กฤษณะ ช่างประเสริฐ และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2561) บทความวิจัยเรื่องปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนายทหารนักเรียน หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8:3.

รวีวรรณ อรรถานิธิ และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 38:104.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ศุภลักษณ์ พฤทธิพงศ์สิทธิ์. (2544). สุขภาพจิตและพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง ศึกษากรณี: โรงเรียนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิวิมล เกลียวทอง. (2557). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทร์วิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

สมิธ วุฒิสวัสดิ์. (2552). การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Costa, P. T., Jr., & Mc Crae, R. R. (1992). NEO-PI-R: Professional manual. Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. (Second Edition).

New York: Harper & Row.