พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมผู้นำของบริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 59 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และครู รวมทั้งสิ้น 236 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากการเปิดตารางประมาณการขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน จากนั้นเลือกตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภทตามเขตพื้นที่ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำตามแนวคิดของเบลคและมูตัน กับการบริหารงานบุคคลตามกรอบแนวทางคู่มือการบริหารงานบุคคลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 แบบที่มากที่สุดคือพฤติกรรมผู้นำแบบทีม รองลงมาคือพฤติกรรมผู้นำแบบสายกลาง พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งผลงานและพฤติกรรมที่น้อยที่สุดคือพฤติกรรมผู้นำแบบตามสบาย 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อยู่ใน ระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านการรักษาวินัยและการออกจากราชการของบุคลากร ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากร และด้านการวางแผนอัตรากําลัง 3) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล (กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงศึกษาธิการ, 2556), 51.
กิติมา ปรีดิลก, ทฤษฎีการบริหารองค์การ (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธนะการพิมพ์, 2559),26.
จอมพงศ์ มงคลวนิช, การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ :
วี.พริ้นท์, 2556), 46.
พนม พงษ์ไพบูลย์, การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 แห่งชีวิต ตอนที่ 2, เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566, เข้าถึง
ได้จาก http://it.kmutnb.ac.th/thai/readnews.asp?id=501
ภาณุวัฒน์ ศิวะสกุลราช, หน่วยที่ 1 : แนวคิดพื้นฐานพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมกับการพัฒนาตน
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2555), 1.
วิภาส ทองสุทธิ์, พฤติกรรมองค์การ (กรุงเทพมหานคร : อินทภาษ, 2556), 344.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกมล, 2560.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566,
เข้าถึงได้จาก http://media.wix.com/ugd/2cef27_c7c9894bd94e7b6e42e48f 128de 37069.pdf,2.
สำนักงานพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ,
คู่มือการบริหารงานบุคคลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (กรุงเทพฯ : กระทรวง
ศึกษาธิการ, 2565), 386-437.
สุภาพร สวัสดิ์ศิรศาตนันท์, พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา, (จันทบุรี: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี, 2555), 71.
เสนาะ ติเยาว์, การบริหารงานบุคลากร, พิมพ์ครั้งที่ 12 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์,2556), 32.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2565 เข้าถึงได้
จาก http://www.suthep.ricr.ac.th/chapter1.doc
หวน พินธุพันธ์, นักบริหารมืออาชีพ (กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ,
, 11.
Lunenburg, Fred C. and Ornstein, Allan C. Educational Administration: Concepts
and Practices. 6th ed. Belmont, CA: Wadsworth, 2012.
Mathis, Robert L., and Jackson, John H., Human Resource Management. 12th ed.
Cincinnati, Ohio: Thomson South-Western Pub, 2008.
Reddy R. Jayaprakash, Personnel Management (India : S.B. Nangia, 2004), 1.
Robert R. Blake and Jane S. Mouton. MANAGERIAL GRID : LEADERSHIP STYLES FOR
ACHIEVING PRODUCTION THROUGH PEOPLE, (1991), 29.
William B. Castetter, The human resource function in educational administration,
th ed. (New Jersey: Prentice-Hall, 1996), 5.