การบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุในจังหวัดเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเลยและเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเลย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) ผู้สูงอายุจำนวน 498 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนผู้สูงอายุจำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 178 คน คิดเป็น ร้อยละ 35.70 เพศหญิง จำนวน 320 คน คิดเป็น ร้อยละ 64.30 ได้รับการบาดเจ็บจากการใช้ชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 43.80 ตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ต้นขา คิดเป็นร้อยละ 35.34 ส่วนตำแหน่งของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ต้นขา คิดเป็นร้อยละ 35.34 ลักษณะของการบาดเจ็บของผู้สูงอายุที่พบมากที่สุดคือ กล้ามเนื้ออักเสบ คิดเป็นร้อยละ 41.77 แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บไม่รุนแรงมากนักส่วนใหญ่หยุดพัก 1 วันก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ คิดเป็นร้อยละ 59.84 ในส่วนของการปฐมพยาบาลและการรักษาฟื้นฟู พบว่าส่วนใหญ่เมื่อผู้สูงอายุได้รับการบาดเจ็บมักจะเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 51.00 ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุให้ความสำคัญต่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานพยาบาลต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในส่วนของการรักษาฟื้นฟูหลังจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานพยาบาลกลับเป็นตัวผู้สูงอายุเองที่ทำการรักษาฟื้นฟูร่างกายตนเอง คิดเป็นร้อยละ 38.76 มากกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 37.55 ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุยังขาดความต่อเนื่องในการรักษาฟื้นฟูร่างกายที่ถูกต้องเนื่องด้วยผู้สูงอายุยังมีความรู้ที่ไม่เพียงพอส่งผลต่อการฟื้นฟู นำไปสู่ปัญหาในการใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ระยะเวลาในการรักษาฟื้นฟูน้อยกว่า 1 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 42.37
Article Details
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2560). การออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ, 43(1), 5-15.
เดชา พรมกลาง และคณะ (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล,33(1), 49-60.
เทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2545). การวิจัยทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา
นวรัตน์ ไวชมภู. (2561). กายวิภาคและสรีรวิทยาผู้สูงอายุพื้นฐาน. เอกสารประกอบการสอน คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปิยพงษ์ ชูจันอัด. (2560). ปัญหาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอบางบาล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Keshavarzi, F., Azadinia, F., Talebian, S., & Rasouli, O. (2022). Impairments in trunk muscles performance and proprioception in older adults with hyperkyphosis. Journal of Manual & Manipulative Therapy, 30(4), 249-257.
Lu, Z., Ye, P., Er, Y., Zhan, Y., Deng, X., & Duan, L. (2022). Body pain and functional disability predict falls in Chinese older adults: a population-based cohort study. Aging clinical and experimental research, 34(10), 2515-2523.
Mahmoudi, A., Amirshaghaghi, F., Aminzadeh, R., & Mohamadi Turkmani, E. (2022). Effect of aerobic, resistance, and combined exercise training on depressive symptoms, quality of life, and muscle strength in healthy older adults: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Biological Research For Nursing, 24(4), 541-559.
Minakawa, Y., Miyazaki, S., Waki, H., Yoshida, N., Iimura, K., & Itoh, K. (2022). Trigger Point Acupuncture and Exercise for Chronic Low Back Pain in Older Adult: a Preliminary Randomized Clinical Trial. Journal of Acupuncture and Meridian Studies, 15(2), 143-151.
Niederstrasser, N. G., & Attridge, N. (2022). Associations between pain and physical activity among older adults. Plos one, 17(1), e0263356.
Wang, H., Zheng, J., Fan, Z., Luo, Z., Wu, Y., Cheng, X., ... & Wang, C. (2022). Impaired static postural control correlates to the contraction ability of trunk muscle in young adults with chronic non-specific low back pain: a cross-sectional study. Gait & Posture, 92, 44-50.