การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอน PUCSC ร่วมกับสื่อสภาพจริง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชันษา ปรางค์ทอง
อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์
พงศธร มหาวิจิตร

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอน PUCSC ร่วมกับสื่อสภาพจริง (2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอน PUCSC ร่วมกับสื่อสภาพจริง และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน PUCSC ร่วมกับสื่อสภาพจริง เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ที่มีแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดงิ้วราย จังหวัดอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ แบบประเมินความพึงพอใจ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอน PUCSC ร่วมกับสื่อสภาพจริง ทุกแผนอยู่ในระดับคุณภาพ มากที่สุด (2) คะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ย (X̅= 22.55) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (X̅= 16.65) และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เฉลี่ย (X̅=44.19) ซึ่งอยู่ในพัฒนาการระดับกลาง และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅=4.44)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

เคน จันทร์วงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา วิชาการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บวรสวรรค์ มุ้งทอง. (2561). การใช้สื่อสภาพจริงส่งเสริมความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษและแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนจั่น จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รมินตรา วรงค์ปกรณ์. (2559). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

โรงเรียนวัดงิ้วราย. (2565). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดงิ้วราย. อ่างทอง: กลุ่มงานวิชาการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาผลการทดสอบ O-Net. อ่างทอง: กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา

Ahellal, M. (1990). “Using Authentic Materials in the Classroom : Theoretical Assumptions And Practical Consideration”. English Teaching Forum, 28(2): 37-39.

Guo, S. (2012). Using authentic materials for extensive reading to promote English proficiency. English Language Teaching. Retrieved from http://www.ccsenet.orgJoumal/index.php/elt/article.

Landsford L. (2014). Authentic materials in the classroom: the advantage. Retrieved from http://www.cambridge.org/elt/blog/authentic-materials-classroom-advantages.

Matinez, A. G. (2002). Authentic materials: An overview. Retrieved from http://www3.telus.net/linguistics issues/authenticmaterials.html.