การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สินีนารถ รัชณี
วีนัส ภักดิ์นรา
กรวิกา สุวรรณกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำระหว่างก่อนจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพนทอง จังหวัดเลย ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 เล่ม ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 2. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และ 3. แบบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน คือ การหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน (E1/E2) การหาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำก่อนจัดการเรียนรู้กับหลังจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถิติ Dependent simple t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.67/85.33 2) ความก้าวหน้าในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.731 คิดเป็นร้อยละ 73.17  3) ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน  หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

______. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2552). การจัดการสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

กฤษณา กิตติเสรีบุตร. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียง. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จินตนา ใบกาซูยี. (2547). หลักเกณฑ์ในการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการ

ประชุมการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ.

จุฑามาศ ชัยสงคราม. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐนี วรบุตร, พิทักษ์ นิลนพคุณและกาญจนา สุจีนะพงษ์. (2556). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการ

อ่าน ชุดท้องถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี

ที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์บัณฑิตศึกษา (ฉบับพิเศษ), 146-153.

นวลจันทร์ สุทธะมา, พจมาน ชำนาญกิจ, ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2556). การพัฒนาหนังสือ

ส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(12), 197-204.

รังสิมันตุ์ ฉิมรักษ์. (2550). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ลัดดาวัลย์ พงษ์เขตกรณ์. (2562). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดคล่องแคล่วคำควบกล้ำ

เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 373-388.

อรพัทธ ศิริแสง. (2564). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชุด ท้องถิ่นยโสธร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(2), 325-340.