การพัฒนาความสามารถโต้แย้งโดยใช้กิจกรรมการโต้แย้ง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการโต้แย้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาความสามารถโต้แย้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้จาก
การอาสาสมัคร ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนนักเรียนในการแข่งขันโต้วาที ที่สนใจพัฒนาความสามารถโต้แย้งจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบประเมินแผนการจัดกิจกรรมการโต้แย้ง และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการโต้แย้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัย 1) ได้กิจกรรมการโต้แย้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 กิจกรรมเป็นกิจกรรมการโต้แย้งแบบนิรนัย แบบอุปนัย แบบเปรียบเทียบ และกิจกรรมการโต้วาที
2) ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่ากิจกรรมการโต้แย้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกรายการมีคุณภาพความเหมาะสมระดับมากที่สุดและมาก 3) ในกิจกรรมการโต้แย้งแบบนิรนัยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2 คน ที่มีคุณลักษณะสำคัญของความสามารถโต้แย้งและมีความสามารถโต้แย้ง ในกิจกรรมการโต้แย้งแบบอุปนัยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 6 คน ที่มีคุณลักษณะสำคัญของความสามารถโต้แย้งและมีความสามารถโต้แย้ง ในกิจกรรมการโต้แย้งแบบเปรียบเทียบมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 4 คน ที่มีคุณลักษณะสำคัญของความสามารถโต้แย้ง แต่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีความสามารถโต้แย้ง และในกิจกรรมการโต้วาทีมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 7 คน ที่มีคุณลักษณะสำคัญของความสามารถโต้แย้งและมีความสามารถโต้แย้ง 4) นักเรียนทุกคนมีความเห็นต่อกิจกรรม
การโต้แย้งในระดับเห็นด้วยมากที่สุดทุกรายการ ยกเว้นรายการประเมินกิจกรรมหลากหลายที่
เห็นด้วยในระดับมากที่สุดเท่ากับระดับมาก
Article Details
References
กุลชญา พิบูลย์. 2561. “ผลของการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสร้างข้อโต้แย้งโดยใช้แผนผัง
ออนไลน์ร่วมกับแท็กคลาวด์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของ
ผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชยพร กระต่ายทอง. 2552. “การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมภาษาไทยแบบอิงมาตรฐานด้วย
กระบวนการออกแบบย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างความสามารถการวิเคราะห์และการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
สาขาหลักสูตรและการสอน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นะฤเนตร จุฬากาญจน์. 2556. “ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์
หลักการคิดแบบพุทธธรรม (โยนิโสมนสิการ) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. 2558. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภคพร อิสระ. 2557. “ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับ
เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถใน
การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์
ภูมิภาค”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิณี รัตนคอน. 2561. “การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะการโต้แย้งโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 2720-2735.
วนิดา พรมเขต. 2565. “ศึกษาความสามารถในการโต้วาทีด้วยการเรียนออนไลน์ร่วมกับ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565): 37-54.
วรัญญา จำปามูล. 2555. “ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การสร้างข้อโต้แย้งที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559. การโต้แย้ง [ออนไลน์].
https://curadio.chula.ac.th/Images/Class-Onair/th/2016/th-2016-10-27.pdf,
มกราคม 2565.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2555. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สำอาง หิรัญบูรณะ, ปราณี บุญคลัง, ดวงตา ตาฬวัฒน์, และ โสภณ นิไชยโยค. 2546.
การประเมินพัฒนาการสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร: สกศ.
Macagno, F. 2015. “A Means-End Classification of Argumentation Schemes.” in
Reflections on Theoretical Issues in Argumentation Theory (August 2015): 183-201.
Nickerson, R., 2020. Argumentation The Art of Persuasion [Online].
https://www.cambridge.org/core/books/argumentation/types-of-argument/4835610C45D0802FC22AA3AFF533CA77, January 6, 2022.
Novaes, C. D. 2021. Argument and Argumentation [Online].
https://plato.stanford.edu/entries/argument/#Conc, January 6, 2022.
Sampson, V. and F. Gerbino. 2010. “Two Instructional Models That Teachers Can
Use to Promote & Support Scientific Argumentation in the Biology Classroom.” The America Biology Teacher 12(7): 427-431.