ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ กับสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นลินญา เติมประโคน
เก็ตถวา บุญปราการ

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณกับสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา  จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมตารฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณกับสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีม พบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมในทิศทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.890, Sig.=0.000) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดหลักสูตรวิทยาการคำนวณ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมในทิศทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

_______. (2561). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพ ฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เกริกเกียรติ นรินทร์. (2563). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีม วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชนมน ตั้งพิทักษ์ไกร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้การ เรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (การงานอาชีพ 1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐ์กัญญา คำแหง. ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา. (วันที่ 15 ธันวาคม 2565). สัมภาษณ์

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาภรณ์ พลเยี่ยม. (2560). ศึกษาการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ปริญญา อันภักดี. (2558). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม โดยจัดการเรียนริแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ วิชา IPST-MicroBOX ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมแพศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(1), 13–34.

หนึ่งฤทัย มะลาไวย์ และคณะ. (2564). การทำงานเป็นทีมของนักเรียน: ปัจจัยเชิงสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 425-438.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.