รูปแบบการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการและรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ วิเคราะห์ปัญหาการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย และเสนอรูปแบบการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการและรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมได้ร่วมพิจารณาจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ต่อมามีการจัดประชุมเรื่องหลักสูตรใหม่เด็กไทยพัฒนา ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งโรงเรียนวิถีพุทธ ในปี พ.ศ. 2545 โดยมีรูปแบบเน้นพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาบูรณาการให้แก่ผู้เรียนมีปัญญาเข้าใจในคุณค่าแท้คุณค่าเทียม ดำรงชีวิตด้วยปัญญาและเมตตา ส่วนพัฒนาการและรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2553 เป็นองค์กรภาคสังคมโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เรียกว่า “บวร” หรือ บ้าน วัด และราชการ 2) ปัญหาการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ได้ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดแผนกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนไม่ชัดเจน บุคลากร ครูจิตอาสา ยังไม่ครอบคลุมในกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีพุทธ และขาดบุคลากรประจำที่ทำหน้าที่ฝ่ายธุรการ 2) ด้านการจัดการทรัพยากรการเงิน งบประมาณที่จะมาบริหารจัดการด้านต่างๆ ไม่เพียงพอ การวางแผนงานไม่ชัดเจน ไม่มีแผนในระยะยาว 3) ด้านการจัดการทรัพยากรทางกายภาพ ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์และลหุภัณฑ์ รวมถึงอาคารสถานที่ในการอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนผู้สูงอายุ 4) ด้านการจัดการทรัพยากรเครือข่ายความร่วมมือ ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 3) รูปแบบการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธในจังหวัดเชียงราย แบ่งการจัดการออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหาร สร้างความเขาใจในกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุรวมกันของทุกๆ ฝาย และบูรณาการกับหลักอิทธิบาท 4, 2) ด้านหลักสูตรด้วยมิติ 6 คือ (1) มิติด้านสุขภาพ บูรณาการด้วยหลักกายภาวนาและจิตภาวนา (2) มิติด้านเศรษฐกิจ บูรณาการด้วยหลักมัตตัญญุตา (3) มิติด้านสังคม ประเพณี วัฒนธรรม บูรณาการด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 (4) มิติด้านสิ่งแวดล้อม บูรณาการด้วยหลักสีลภาวนา (5) มิติด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี บูรณาการด้วยหลักปัญญาภาวนา (6) มิติด้านสวัสดิการ บูรณาการด้วยหลักพรหมวิหาร 4, 3) การด้านการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับโรงเรียนวิถีพุทธ บูรณาการด้วยหลักปัญญาวุฒิธรรม 4, 4) ด้านเครือข่าย สร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด ราชการ บูรณาการด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7
Article Details
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. กรมกิจการผู้สูงอายุ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf [15
พฤษภาคม 63].
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.mcu.ac.th/article/detail/405 [20 กรกฎาคม 2565].
พระปลัดประดิสิษฐ์ ฐฃิตาโภ, (2557). “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันการวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), 2560. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม : บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
รายการโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. ใจเท่ากัน ตอน โรงเรียนผู้สูงอายุแห่งแรกในประเทศไทย วันพุธ ที่ 13 เมษายน 2559, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://program.thaipbs.or.th/Jai taokan /episodes/36965 [16 มกราคม 2562].
โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://huafaiseniorsschool.com /index. php/about-us [16 มกราคม 2562].
วัดถ้ำวัว. ประวัติวัดถ้ำวัว. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://e-service.dra. go.th/place_page/ 47215 [20 กรกฎาคม 2565].
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ, (2560). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การถอด บทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้”. กรุงเทพฯ : เจพริ้นท์.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ, (2556). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ. สำนักงานส่งเสริม สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, (2559). ประชากรผู้สูงอายุ อาเซียน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.