ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ทรงพิสุทธิ์ จันทรโชติ
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์
กรกฎา นักคิ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีประขากรคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 62 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกโดยเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกเฉพาะนักเรียนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการนักเรียนประจำปีการศึกษา 2566 และสมัครใจเข้ารับการพัฒนาภาวะผู้นำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ  แบบวัดภาวะผู้นำจำนวน 20 ข้อที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.66 - 1.00 และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนจากแบบวัดภาวะผู้นำ และเปรียบเทียบคะแนนจากแบบวัดภาวะผู้นำของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Non Parametric (The Wilcoxon Matches Pairs Signed Rank Test)


ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากอาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ และผู้เชี่ยวชาญเมื่อนำมาใช้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมฯสามารถพัฒนาภาวะผู้นำ โดยนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนจากแบบวัดภาวะผู้นำ ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความเข้าใจความหมาย และตระหนักถึงวามสำคัญของการมีภาวะผู้นำ และนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองในด้านของความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักวิธีการสื่อสาร การแก้ไขปัญหาอย่าเป็นระบบ รู้จักกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น ส่งผลให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทมาภรณ์ บูรณสมภพ. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและการปรับเปลี่ยน

ความคิดต่อภาวะซึมเศร้าของภรรยาที่ถูกทารุณกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ธีราพร ทองปัญญา. (2557). กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างจิตสำนึก

ในการพัฒนาชุมชนของเยาวชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณิชากร ศรีเพชรดี. (2562). 11 วิธีสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กเป็นผู้นำ: เคารพตัวเอง มุ่งมั่น ยืดหยุ่น

ตัวอย่างนิสัยข้างในที่เด็กๆ จะได้. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2565, จาก The potential. https://thepotential.org/knowledge/leadership-environment-for-kids/

ปภาพินท์ คำอุดม. (2558). การศึกษากระบวนการเสริมพลังในสภาเด็กและเยาวชนกรณีศึกษาสภา

เด็กและเยาวชนตำบลเมืองหม้อ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระณัฐวุฒิ พันทะลี. (2563). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ

พระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง , 3(2), 44-54.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียน ภาวะผู้นำและจิต

สาธารณะของนักเรียนในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยกาละสอง

คำ, 12(1),139-150.

โรงเรียนจิตรลดา. (2565). คู่มือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา. กรุงเทพฯ:โรงเรียน

จิตรลดา

วรรณรัตน์ ชุมภูศรี. (2563). ทักษะทางด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อวามสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงาน

บริษัท Eggdigital. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ.

วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

นเรศวร, 20(1), 261-271.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). คุณลักษณะภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. สืบค้น 4

พฤศจิกายน 2565, จาก http://suthep.cru.in.th/leader27.doc

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสองพ.ศ. 2560 – 2564 . สืบค้น 5 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid =6420&filename=develop_issue,

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้น 5 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13,

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.

วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขาพจิต, 12(1), 14-24

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill

children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201–1210.

https://doi.org/10.1046/j.1365-2648.1995.21061201.x

Zimmerman, M. A., Eisman, A. B., Reischl, T. M., Morrel-Samuels, S., Stoddard, S.,

Miller, A. L., Hutchison, P., Franzen, S., & Rupp, L. (2018). Youth

Empowerment Solutions: Evaluation of an After-School Program to Engage

Middle School Students in Community Change. Health Education &

Behavior, 45(1), 20–31.https://doi.org/10.1177/1090198117710491