แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modifide) และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูในภาพรวม อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความร่วมมือ ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล มีค่าดัชนี (PNI modified = 0.258 ) 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งหมด 4 ด้าน มี 28 แนวทางพัฒนา คือ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล มี 7 แนวทางพัฒนา 2) ด้านการรู้ดิจิทัล มี 7 แนวทางพัฒนา 3) ด้านการสื่อสาร มี 8 แนวทางพัฒนา 4) ด้านความร่วมมือ มี 6 แนวทางพัฒนา
Article Details
References
กัญญา จันทร์จุไร. (2565). จุดมุ่งหมายของโรงเรียนตันติวัตร. https://www3.ttw.ac.th/index.cfm?id=6
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2560). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ชุติรัตน์ กาญจนธงชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นันทนัช สุขแก้วและคณะ. (2562). ทักษะครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย (Symposium) ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาโนช หัทยามาตย์และคณะ. (2565). การพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านสร้าง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 326-334.
รัฐนันท์ รถทองและมลรักษ์ เลิศวิลัย. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 224-234.
สํานักงานกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563-2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2560- 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2565). ผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(ประชุม กช.) ครั้งที่ 6/2565. https://opec.go.th/gallery/detail/179
สุชญา โกมลวานิช และคณะ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 23. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
International Society for Technology in Education (ISTE). (2018). ISTE STANDARDS: EDUCATION LEADERS. https://www.iste.org/standards/iste-standards-for-education-leaders