แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้สอนภาษาจีนตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้สอนภาษาจีนในปัจจุบันกับกรอบระดับชั้นมาตรฐานสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาจากการประเมินผู้สอนตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของผู้สอนให้เป็นไปตามกรอบระดับชั้นมาตรฐานสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สอนภาษาจีนระดับที่ 3 มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 ผู้สอนภาษาจีนระดับที่ 4 มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และผู้สอนภาษาจีนระดับที่ 5 มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ตามลำดับ 2) สภาพปัญหาจากการประเมินตามกรอบระดับชั้นมาตรฐานสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ พบว่า 1) สมรรถนะด้านภาษาจีน ผู้สอนขาดการฝึกทักษะด้านการอ่าน การเขียนและการสื่อสารและไม่สามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารตอบโต้ได้ตามกรอบระดับชั้นมาตรฐานที่กำหนด 2) สมรรถนะด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ ผู้สอนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ 3) สมรรถนะด้านการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนส่วนใหญ่เน้นการสอนในรูปแบบดั้งเดิมคือ การสอนด้วยการท่องจำ การสอนด้วยเทคนิคการแปล ขาดการสร้างแรงกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนด้วยรูปแบบ Active learning อีกทั้งยังเลือกใช้การวัดประเมินการเรียนรู้แบบแยกทักษะเป็นหลัก ไม่ส่งเสริมการบูรณาการความรู้และทักษะองค์รวมในการใช้จริง และ 4) สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพ ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนน้อยรู้จักแหล่งการเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองและแหล่งเรียนรู้ไม่หลากหลาย รวมถึงขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากครูรุ่นพี่ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเอง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการ
สอนภาษาจีน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.phatthalung2.go.th/myoffice/ 2557/data/tkk1/25570219_1115227711.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 กุมภาพันธ์ 2565).
ตรีคูณ โพธิ์หล้า (2555). ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://www.gotoknow.org/posts/229370. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 มีนาคม 2565).
นรรัชต์ ฝันเชียร (2561). แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/68689/-blog-teaartedu-teaart-teaarttea. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 มีนาคม 2565).
ธนาพล บัวคำโคตร และไพบูลย์ลิ้มมณี (2563). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7,8 (สิงหาคม 2563).
ธเนศ ขำเกิด (2556). แผนการสอน : ปัญหาที่ต้องกลับมาทบทวน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://www.gotoknow.org/posts/23618. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 มีนาคม 2565).
ประทีป ว่องวีระยุทธ์ อดิเรก นวลศรี และคณะ (2563). การศึกษาแนวคิดมาตรฐานอาชีพและ
คุณวุฒิวิชาชีพสาขาผู้สอนวิชาภาษาจีน. วารสารปัญญาภิวัฒน์,12,1 (มกราคม – เมษายน
.
พจนีย์ มั่งคั่ง และกัญภร เอี่ยมพญา (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ของครูโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.),22,1 (มกราคม-มิถุนายน 2563).
ภาณุเดช จริยฐิตินันท์ (2560). สภาพการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. [ออนไลน์].เข้าถึง
ได้จาก http://www.brmpeo.moe.go.th/schoolmapping/data/file/pdf/
teaching%20chinese%20in%20thailand.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 กุมภาพันธ์
.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (2560). ข้อบังคับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการให้คุณวุฒิวิชาชีพ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
ตอนพิเศษ 104 ง.
อรรณพ จีนะวัฒน (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal,
Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,9,2
(พฤษภาคม – สิงหาคม 2559).
English Terminal (2562). วิธีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน และทักษะใดที่มี
ความสำคัญมากที่สุด. https://www.engtermlnal.com/ which-one-is-most-
important-in-english-4-skills.html. (สืบค้นข้อมูล : 1 มีนาคม 2565).