การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ระยะที่ 3

Main Article Content

ทิวากร เหล่าลือชา
ศศิพงษา จันทรสาขา
ปิยะนุช ทวีสุข
บุรฉัตร จันทร์แดง
วนิดา สังคะลุน
สุนันทา พิลาวุธ
สุพรรณี ทองน้อย
จักรกฤษณ์ ภูมิพรม
ธนวัฒน์ ผิวขำ
มยุรา คำปาน
ดารินี บุตรดีวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบค้นหา สอบทานใหม่ และจำแนก (Classify) ในครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดอย่างถูกต้องและแม่นยำจังหวัดมุกดาหาร 2) เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือ และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) การนำเข้า การนำออกข้อมูลครัวเรือนยากจน (Add on and Exit) ที่ได้รับการช่วยเหลือจากระบบ (PPP CONNEXT) จังหวัดมุกดาหาร 3) เพื่อพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework ; SLF) โดยใช้นวัตกรรมและ/หรือเทคโนโลยีในการพัฒนาอาชีพ/เพื่อยกระดับรายได้คนจน 40% ล่าง 4) เพื่อจัดทำระบบ Poverty Forum เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือและสร้างยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่จังหวัดมุกดาหารอย่างเป็นรูปธรรม 5) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ/หรือแผนจังหวัดมุกดาหาร (One Plan)  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนจนในจังหวัดมุกดาหารที่มีรายชื่อในระบบ TPMAP และจากผลการวิจัยในปีที่ 2 จำนวน 5,673 ครัวเรือน รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) Poverty profile 4) Village profile 5) family folder 6) แผนผังครัวครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (www.livingonnewpace.com) ด้วยแนวคิด Livelihood Model และวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (www.pppconnext.com) ซึ่งแสดงผลเป็นกราฟแสดงผลการสำรวจข้อมูล ปัญหา ศักยภาพและวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพเดิมของข้อมูลปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการต่อยอดการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนทำได้ จำนวน 5,970 ครัวเรือน 2) มีระบบส่งต่อความช่วยเหลือ และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) มีการส่งต่อความช่วยเหลือ 5 ด้าน ได้แก่ ได้แก่ (1) ด้านการศึกษา ได้รับทุนการศึกษาจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 75 คน (2) ด้านที่อยู่อาศัย ได้รับการซ่อมแซมบ้าน 19 ครัวเรือน ได้รับการสร้างบ้าน 1 ครัวเรือน (3) ด้านการพัฒนาอาชีพ ได้ทำการส่งต่อไปยังหน่วยงานในด้านการฝึกและพัฒนาอาชีพ (4) ด้านการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ได้ทำการส่งต่อข้อมูลและช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในอำเภอนิคมคำสร้อยและทีมวิจัยได้หนุนเสริมในการช่วยเหลือครัวเรือนยากจนให้เข้าถึงการสมัครลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ได้ทั้ง 79 หมู่บ้าน 7 ตำบลในอำเภอนิคมคำสร้อย จำนวน 665 ครัวเรือน (5) ด้านการจัดสวัสดิการทางสังคม ครัวเรือนยากจนในอำเภอนิคมคำสร้อยได้รับสวัสดิการทางสังคม โดยได้รับถุงยังชีพ จำนวน 190 ครัวเรือน 3) โมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ได้แก่ (1) โมเดลหม่อนแก้จน พื้นที่วิจัยนำร่องในอำเภอนิคมคำสร้อย คือ ตำบลกกแดง มีครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 38 ครัวเรือน 38 คน (2) โมเดลหม่อนแก้จนครบวงจร พื้นที่วิจัยนำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอหนองสูง มีครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 39 ครัวเรือน 39 คน (3) โมเดลคลังแรงงานแก้จน พื้นที่เป้าหมายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร มีครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 16 ครัวเรือน 16 คน 4) จัดทำระบบ Poverty Forum ทั้งหมด 11 ครั้ง โดยเป็นการจัดเวที Poverty Forum ในระดับจังหวัด 1 ครั้ง จัดเวที Poverty Forum ในระดับอำเภอ 1 ครั้งในเวทีประชุม ศจพ.อ. นิคมคำสร้อย และเป็นการจัดเวที Poverty Forum ในระดับตำบลอีก 8 ครั้งในเวทีประชุม ศจพ.ต. และ ศจพ.ท. ได้แก่ 7 ตำบลในอำเภอนิคมคำสร้อย และอีก 1 ครั้งในเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย และจัดเวที Poverty Forum ในเขตเทศาลเมืองมุกดาหาร 1 ครั้ง 5) จัดทำแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่/จังหวัดในจังหวัดมุกดาหาร โดยทีมวิจัยได้จัดทำแผนร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น ท้องที่ และจากการประชาคมหมู่บ้าน โดยมีแผนพัฒนาดังนี้ (1) แผนพัฒนาจังหวัด จำนวน 1 แผน (2) แผนพัฒนาอำเภอนิคมคำสร้อย จำนวน 1 แผน (3) แผนพัฒนาตำบล 7 ตำบล ในอำเภอนิคมคำสร้อย จำนวน 7 แผน (4) แผนพัฒนาหมู่บ้าน 79 หมู่บ้าน ในอำเภอนิคมคำสร้อย จำนวน 79 แผน (5) แผนพัฒนาชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จำนวน 1 แผน (6) แผนพัฒนาชุมชน 34 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จำนวน 34 แผน

Article Details

บท
Research Articles

References

ทิวากร เหล่าลือชา, ศศิพงษา จันทรสาขา, ปิยะนุช ทวีสุข, บุรฉัตร จันทร์แดง, วนิดา สังคะลุน, สุนันทา พิลาวุธ,

สุพรรณี ทองน้อย, จักรกฤษณ์ ภูมิพรม, ธนวัฒน์ ผิวขำ, มยุรา คำปาน และ ดาริณี บุตรดีวงศ์.

(2565, เมษายายน-มิถุนายน). การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ระยะที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม, 6(2). (TCI 2).

ทิวากร เหล่าลือชา, ศศิพงษา จันทรสาขา, ปิยะนุช ทวีสุข, บุรฉัตร จันทร์แดง, วนิดา สังคะลุน, สุนันทา พิลาวุธ,

สุพรรณี ทองน้อย, จักรกฤษณ์ ภูมิพรม, ธนวัฒน์ ผิวขำ, มยุรา คำปาน และ ดาริณี บุตรดีวงศ์.

(2566, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ระยะที่ 2. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 8(1). (TCI 2).

ทิวากร เหล่าลือชา. (2566). หนังสือโมเดลปฏิบัติการแก้จน “คนเมืองมุก” Mukdahan Poverty Forum. เข้าถึงจาก https://anyflip.com/navht/kniz

พารีซาร์ สะมะ. (2559). การแก้ไขปัญหาความยากจน. กรุงเทพฯ.

พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2564). กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร การบริหารปกครอง (Governance Journal), 10(2), 260.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดมุกดาหาร. (2566). วีดีโองาน “มหกรรมแก้จน คนเมืองมุก ครั้งที่ 1” ภาคเช้า และภาคบ่าย. เข้าถึงจาก https://drive.google.com/drive/folders/1dS0mKdKAPAJmS0lSDlmiatm68FyG5E2y

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดมุกดาหาร. (2566). วีดีโองาน “มหกรรมแก้จน คนเมืองมุก ครั้งที่ 1” ภาคเช้า. เข้าถึงจาก https://drive.google.com/drive/folders/1dS0mKdKAPAJmS0lSDlmiatm68FyG5E2y

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดมุกดาหาร. (2566). วีดีโองาน “มหกรรมแก้จน คนเมืองมุก ครั้งที่ 1” ภาค บ่าย. เข้าถึงจาก https://drive.google.com/drive/folders/1dS0mKdKAPAJmS0lSDlmiatm68FyG5E2y

Kalasin Provincial Office. (2018). Kalasin Happiness Model Kalasin People's Plan Leaves No One Behind 2018 –2021. Kalasin Provincial Development Plan 2018-2021.