แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ภัสรากรณ์ แม้นเหมือน
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) เปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 322 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่มีค่า IOC รายข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านเงื่อนไขการสนับสนุน รองลงมา คือ ด้านความร่วมมือของทีมงาน ด้านภาวะผู้นำร่วม ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมกันกำหนดเป้าหมายโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนให้ครูมีการศึกษาเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
Research Articles

References

เฉลิมชาติ เมฆแดง. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา

เอกชน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,1

(ฉบับพิเศษ) ,171-179.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู Professional Learning Community: PLC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 23, 2 (ธันวาคม).

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2559). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของ โรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็งของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มกราคม พ.ศ.2558 – กันยายน พ.ศ. 2559.

ถวิล อรัญเวศ.(2562). เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttp://thawin09.blogspot.com/2017/02/plc.html

นันทนัช นันทพงษ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). เอกสารประกอบการประชุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนยุพราช วิทยาลัย. เชียงใหม่.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2,3 (2561).

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง การศึกษา 9, 3 (2014). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

¬¬_______. (2558). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของ โรงเรียน

มัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2, 2 (2560).

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และ เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

เพื่อการ พัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2557) : 1-10.

_______. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ :ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี –

สฤษดิวงศ์.

สนอง โลหิตวิเศษ. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 53, (2561).

สรศักดิ์ นิมากร. (2560). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเฉพาะความพิการทางด้านร่างการหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 6, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี. (2562). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก http://www.secondary3.go.th/main/news/ 7752.html

________. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน กระบวนการ PLC “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรพล ธรรมร่มดี และคณะ. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่ การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. ชุดวิชา 23728 หน่วยที่ 6 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนา การศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชน วิเชียรสรรค์ และคณะ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร

สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.