แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาจุดแข็ง-จุดอ่อน ด้านการบริการของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังด้านคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ โดยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 19 คน ประกอบด้วย 1) ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน 2) ผู้ช่วยทันตแพทย์ จำนวน 5 คน 3) พนักงานทั่วไป แม่บ้าน จำนวน 2 คน 4) ผู้ใช้บริการคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล จำนวน 10 คน วิเคราะห์และประมวลผลโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแง่ต่าง ๆ ตามข้อเท็จจริงทั้งในเชิงเหตุและผล ผลการศึกษาพบว่า 1) จุดแข็งด้านการบริการของคลินิก ได้แก่ ความรู้ ความสามารถ และประสิทธิภาพของทันตแพทย์ รวมถึงความสะดวกสบาย บรรยากาศของคลินิก ความสะอาด ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถของทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างกัน รวมถึงระบบการบริหารจัดการ การบริหารบุคคล การวางกลยุทธ์ และด้านการตลาด ส่วนการบริการในคลินิกที่ยังเป็นจุดอ่อน อาจจะเป็นเรื่องการนัดคิว การพัฒนาความรู้ของบุคลากร 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล ควรมีการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขในส่วน ความเป็นรูปธรรมของการบริการ โดยการลงทุนเพิ่มในอุปกรณ์ที่จำเป็น (New facility investment) การสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไข้ และบุคลากรภายในคลินิก การปรับงบประมาณมาใช้ในส่วนที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น เพื่อดึงความเชื่อมั่นของคนไข้ให้กลับเข้ามารับบริการทางทันตกรรม 3) ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอลแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือ ได้รับคําแนะนําของครอบครัว ญาติ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือ สามีภรรยาเอง และอีกประเด็นคือตามคําแนะนําของเพื่อนหรือคนรู้จัก เหตุผลถัดไปคือการหาข้อมูลเอง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้คลินิกทันตกรรมนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจมากที่สุด 4) ความคาดหวังด้านคุณภาพการบริการผู้รับบริการก็คาดหวังที่จะได้รับบริการที่ดีจากแผนกต้อนรับ ด้านระยะเวลา ความเชื่อมันในชื่อของทันตแพทย์
Article Details
References
ก้องเกียรติ กิตติคุณ. (2552). ความคิดเห็นของผู้ให้บริการด้านทันตกรรมต่อคุณภาพบริการของ
คลินิกตะวันออกเซ็นเตอร์ จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทร์ถนอม กุลวงศ์. (2555). คุณภาพการบริการของคลินิกทันตกรรมในอำเภอคลองหลวง จังหวัด
ปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทันตแพทยสภา. (2563). ค่าตอบแทนในงานบริการทางทันตกรรม พ.ศ. 2544 (เอกสารอัดสำเนา)
นิติพล ภูตะโชติ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกพักโรงแรมที่จังหวัด
หนองคาย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพเราะ คลองนาวัง. (2563). คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและรับรู้ของผู้ป่วย.
โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง.
วันเพ็ญ แก้วปาน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ใน
จังหวัดนครนายก.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักทันตสาธารณสุข, กรมอนามัย. (2563). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน
เด็กวัยเรียน. [ออนไลน์]. นนทบุรี: 2563 (วันที่อ้างอิง 26 มิถุนายน 2563); เข้าถึงได้จาก:
http://dental.anamai.moph.go.th/e_book/book_04/mobile/index.html
อุทุมพร รื่นภาคภูมิ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมคุณภาพการให้บริการกับการตัดสินใจ
ทำทันตกรรม เพื่อความสวยงามของคนในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.
Parasuraman et. al. (1985). Parasuraman, A., Zeithaml, V., Berry, L.L., 1985. A
conceptual model of service quality and its implications for future research, Journal of Marketing, Vol. 49, Autumn, pp. 41-50.
Ziethaml, Parasuraman & Berry. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and
ItsImplications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41 - 50.