แนวทางการปรับตัวด้านการตลาดของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล ในสถานการณ์ VUCA World

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กาญจน์ศิริ จิตตปรัชญากุล
อภิรัตน์ กังสดารพร
รสธร ตู้บรรเทิง

摘要

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการตลาดของคลีนิคทันตกรรมชวิสเดนทอล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการคลีนิคทันตกรรมชวิสเดนทอล 3. เพื่อกำหนดแนวทางการปรับตัวด้านการตลาดของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอล ในสถานการณ์ VUCA World เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ โดยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน ได้แก่ 1) ผู้บริหาร (ก่อตั้ง) จำนวน 1 คน 2) ผู้บริหาร (ปัจจุบัน) จำนวน 1 คน 3) ทันตแพทย์ จำนวน 3 คน 4) ผู้มารับบริการ/คนไข้ จำนวน 10 คน วิเคราะห์โดยการสร้างบทสรุป ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ด้านการตลาดของคลินิกทันตกรรมชวิสเดนทอลในปัจจุบัน อยู่ในระดับดีมาก เพราะแนวทางในการบริหารจัดการของเราคือเน้นคุณภาพของงานทันตกรรม สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจากตัวผลิตภัณฑ์ และจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการคลีนิคทันตกรรมชวิสเดนทอล 1. ด้านผลิตภัณฑ์ คือ มีมาตรฐานและครบวงจร ความสามารถของทันตแพทย์และฝีมือการรักษา 2. ด้านราคา คือ อัตราค่าบริการในการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพการรักษาที่ได้รับและคลินิกทันตกรรมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ สถานที่ตั้งของคลินิกอยู่ในทำเลที่ดี สามารถเดินทางได้สะดวก มีที่จอดรถ 4. ด้านส่งเสริมการขาย คือ คลินิกทันตกรรมไม่ค่อยมีการส่งเสริมการขาย การโฆษณาหรือสิทธิพิเศษส่วนลดต่าง ๆ และการส่งเสริมการขายนั้นก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการ 5. ด้านบุคลากร คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยคำพูดที่สุภาพ ยิ้มแย้ม แจ่มใส นุ่มนวล ทันตแพทย์และพนักงานของร้านมีความเอาใจใส่และเต็มใจให้บริการ 6. ด้านลักษณะทางกายภาพ คือ คลินิกมีการตกแต่งสถานที่อย่างดีเมื่อเทียบกับคลินิกอื่นและโรงพยาบาลเอกชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในร้านครบถ้วน ห้องรับรองกว้างขวาง การแต่งกายของพนักงานจะใส่ชุดคลุมแบบเดียวกัน สวยงาม สะอาด 7. ด้านกระบวนการดำเนินงาน คือ มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และมีระบบชัดเจน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

จาตุรงค์ กาพย์แก้ว. (2565). VUCA ในโลกการทำงานสมัยใหม่: 4 เทคนิครับมือความไม่แน่นอน

สำหรับผู้นำยุคใหม่. สามารถเข้าถึงได้ที่ https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/vuca-for-leader-in-future-work-03032021/

บุปผวรรณ กองมณี. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้บริโภคใน

เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุปผวรรณ กองมณี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้บริโภคในเขต

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าจำเป็นต่อการ

ครองชีพ ของผู้บริโภค : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสดและร้านขายของชำ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ในการประชุมผลงานวิจัยด้านการจัดการธุรกิจ ครั้งที่ 2. (445-476). เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พลวัฒน์ อรรถาสิงห์. (2552). ปัจจัยในการตัดสินใจมาใช้บริการกองทันตกรรม โรงพยาบาลทหาร

ผ่านศึก. บัณฑิตวิทยาลัย :. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เมธินี เมธีวรรธนะ. (2557). แนวทางการปรับตัวในการทำกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของ

คลินิกทันตกรรมเพื่อรองรับ AEC. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรวิทย์ มิตรทอง. (2560). การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาใน

โรงพยาบาลสมุทรสาคร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิ สุขเจริญ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จี. พี. ไซเบอร์พรินท์.

ศศิมา สุขสว่าง. (2561). 7 ทักษะการคิด. เข้าถึงได้จาก

https://www.sasimasuk.com/16761107/7- thinking-skills, 2561

ศิชัช ธราวราทิตย์. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของคลินิกทันตกรรมในภาวะวิกฤตสุขภาพ.

หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สิรวิชญ์ บริพันธกุล. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อชาวต่างชาติในการ

เลือกใช้บริการทางทันตกรรมในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถนนท์ ก่ำโน. (2553). ปัจจัยการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการโรงพยาบาล

ดอยเต่า. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kotler and Armstrong. (2002). Principles of marketing. NJ : Prentice Hall.

Philip Kotler. (2009). Marketing Management. Indeks, Jakarta, 63.