ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ความคาดหวังที่มีต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน 3) ความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และ 4) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความคาดหวังของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ในช่วงระหว่าง 0.16 – 0.21 และ (4) แนวทางสำคัญในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน จำแนกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (4.1) ด้านการเลี้ยงดู ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับนักเรียน (4.2) ด้านการสื่อสาร โรงเรียนควรจัดประชุมผู้ปกครองก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง และผู้ปกครองและครูประจำชั้นควรร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาของนักเรียน (4.3) ด้านอาสาสมัคร ผู้ปกครองควรส่งเสริมสนับสนุนความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียน และโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (4.4) ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ผู้ปกครองควรจัดกิจกรรมที่บ้านให้สอดคล้องและส่งเสริมการเรียนของนักเรียน และควรช่วยตรวจความเรียบร้อยของงานที่นักเรียนทำ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้ (4.5) ด้านจิตอาสา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษารวมทั้งร่วมติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา และ (4.6) ด้านการร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการพาบุตรหลานไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ชุดการเรียนรู้ด้วย
ตนเองชุดที่ 8 โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชนม์ธิดา ยาแก้ว, นางสาวนิศารัตน์ อิสระมโนรส, นางสาวอัญชิษฐา ปิยะจิตติ, นางสาวรวี ศิริปริ-ชยากร และ นางสาวจิราภรณ์ ยกอินทร. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริม
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก (รายงานการ
วิจัย). มหาวิทยาลัยสวนดุสิตล, กรุงเทพฯ.
นันทวีร์ พงษ์นาค. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งโพธิ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สมปอง โพธิตะนิมิตร. (2558). ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
โรงเรียนบ้านคลองเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991 จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.
อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2565). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.
สุภมาส อังศุโชติ และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2558). หน่วยที่ 11 การวิเคราะห์และการแปรผลข้อมูล.
ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วย ที่ 8-15 (น.21). นนทบุรี:
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Epstein, J.L. (1995). School/family/community partnerships: Caring for the children
we share. Phi Delta Kappan, 76(9), 701–712.
Epstein, J.L., et al. (2019). School, Family, and Community Partnerships: Your
Handbook for Action. Fourth edition. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Robbie L. Swint Jr. (2020). Influence of Parental Involvement on Sixth Grade
Student Achievement in Math. (Doctoral Dissertation). University of Grand Canyon.