ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนร่วม ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเรียนร่วม (2) ความคาดหวังที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม (3) ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการเรียนร่วม และ (4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ความคาดหวังที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ดัชนีความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมอยู่ในช่วงระหว่าง .21 – .39 เรียงลำดับจากดัชนีความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านเครื่องมือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านผู้เรียน และด้านการจัดการเรียนการสอน และ (4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร แต่ละด้านมีแนวทางสำคัญ ดังนี้ (4.1) ด้านนักเรียน โรงเรียนควรกำหนดแนวทางในการเตรียมความพร้อมเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ชัดเจน โดยจำแนกตามระดับชั้น (4.2) ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ สนาม พื้นที่ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (4.3) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนควรพัฒนาให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภท และ (4.4) ด้านเครื่องมือ โรงเรียนควรมีแนวทางการปฏิบัติงานและระบบการให้บริการที่ชัดเจน ควรจัดสรรงบประมาณเฉพาะสำหรับสรรหาเครื่องมือที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนร่วม ควรมีตำราที่หลากหลายและจัดให้มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : แนวทาง การศึกษาและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
ณัชพร ศุภสมุทร์ และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงสร้างซีทสำหรับเด็กที่มี ความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
ผดุง อารยะวิญญู. (2559). การเรียนร่วม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษและการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภูฟ้า เสวกพันธ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลันเร ศวร, 21(1), 117-138.
วิลาวัลย์ วงศ์คุณาโรจน์. (2557). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติของครูประจำชั้นและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตรัง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ
ศรีสกุล มีระหันนอก. (2561). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเรียนรวมของ สถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557ข). รายงานการวิจัยการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการศึกษาคนพิการ. น.4-5. สืบค้นจาก https://www. obec. go. th/.
อมร เผ่าเมือง. (2560). การรบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีทในโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วม สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต1 และเขต 2 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.