การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในศูนย์เครือข่ายท่าไม้รวก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

เอกสิทธิ์ คล้ายจันทร์
มณฑา จำปาเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศและการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน รวม 10 คน ขั้นตอนในการวิจัยมี 2 ขั้นตอน 1) การสร้างรูปแบบ และ 2) การทดลองใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบการนิเทศ แบบประเมินองค์ประกอบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สภาพความต้องการในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ส่วนสภาพความต้องการในการนิเทศ ได้แก่ การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และการดำเนินการปฏิบัติตามแผน การพัฒนารูปแบบการนิเทศ มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างรูปแบบและการทดลองใช้ โดยใช้การนิเทศภายในแบบรายบุคคล การใช้รูปแบบการนิเทศ ได้เครื่องมือการวัดผลและประเมินผลเป็น “5MEI2” แบบทดสอบด้านทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ การอ่านออกเสียงลงเสียงหนัก/เบา และการออกเสียงสระ พยัญชนะ ส่วนชุดที่ 2 คือ แบบทดสอบการอ่านเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ทักษะเปรียบเทียบ ทักษะการจำแนก ทักษะการเรียงลำดับ ทักษะการเชื่อมโยง และทักษะการพิสูจน์ความจริง

Article Details

บท
Research Articles

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธาร

อักษร.กระทรวงศึกษาธิการ. (2554 ). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 -2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงกลด เจนจิรวรกานต์. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และ เอกนรินทร์ สังข์ทอง. (2557). “โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 –2564). กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Beach, D. M., & Reinhartz, J. (2000). Supervision leadership: Focus on instruction. Boston: Allyn and Bacon.