พฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระอนิรุตต์ มุทธเสน
สุชาติ บุษย์ชญานนท์
เรืองเดช เขจรศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการทำบุญตักบาตร และเพื่อหาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม (Mix Research) โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 280 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาพฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ คือด้านพฤติกรรมการทำบุญตักบาตร รองลงมา คือด้านความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญตักบาตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา


2) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา บิดา มารดาควรปลูกฝังให้วัยรุ่นเข้าวัดทำบุญตั้งแต่เด็กเพื่อให้เกิดความรัก และศรัทธาในพรพุทธศาสนา ด้านความเชื่อมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การให้ความรู้โดยพระสงฆ์เป็นแกนนำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรทำงานในเชิงรุก คือการเข้าไปสั่งสอนธรรมกับวัยรุ่นแบบบูรณาการในโรงเรียน และชุมชน ด้านความศรัทธาในพระสงฆ์ เผยแผ่ข่าวสารด้านที่ดีของพระสงฆ์อย่างทั่วถึง และเป็นระบบแบบแผนโดยความร่วมมือของชุมชน ด้านความเข้าใจในวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ โดยในวันสำคัญทางศาสนา พระสงฆ์ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบุญ ตักบาตร การถวายสังฆทานเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และด้านความความเข้าใจในการทำบุญตักบาตร โรงเรียน สถานศึกษาควรมีกิจกรรมตักบาตรในวันพระ และวันสำคัญทางศาสนาเพื่อที่นักเรียน นักศึกษา จะได้ทำบุญ และเป็นแบบอย่างให้กับวัยรุ่นในการทำบุญตักบาตร

Article Details

บท
Research Articles

References

บุญมี แท่นแก้ว. (2546). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญรัตน์ อุตส่าห์. (2560). พฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในเขตเทศบาลจังหวัดบุรีรัมย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญหนา จิมานัง. (2545). พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาชัยนาท อรรคบุตร. (2542). แรงจูงใจในการเข้าวัดของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ: ศึกษากรณี วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

พระมหาวัฒนา ปญฺ̣ญาทีโป (คำเคน). (2552). ศึกษาเรื่องการบริหารปัจจัย 4 ของพระสงฆ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุริยนต์ ทสฺ̣ สนีโย (น้อยสงวน). (2554). การศึกษาวิเคราะห์บิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิตและกุศโลบายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.

ลลิลทิพย์ ธนสมบัตินันท์. “พฤติกรรมการตักบาตรและถวายภัตตาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์,”วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 23, 3 (2559): 51-66.

ศนิกานต์ ศรีมณี และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สุภกฤษ บุตรจันทร์. (2560). ศึกษาพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.