สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

วัชระ อรุณโน
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยการมีวิสัยทัศน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) ระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี พบว่า ระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี มีความสัมพันธ์กัน 4) สมการพยากรณ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี เมื่อใช้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวพยากรณ์ ได้ ดังนี้


               สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้


  Y^ = .891+ .237(X1) + .239 (X2) + .055(X3)


   สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


  Z^  = .437(X1) + .432 (X2) + .099(X3)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)“ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560 http://www.ben.ac.th/main/content/ download/1/PLC.pdf.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฏีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์. วารสารบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

ทิภาวรรณ เลขวัฒนะ, อรุณี อ่อนสวัสดิ์ และคณะ. (2550) การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(2). 93-111.

ลำพึง ศรีมีชัย. (2557). รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษด้านการบกพร่องทางสติปัญญา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.

พิมพ์ชญา ปรีชาธนเกียรติ. (2559). ปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต วิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับบูรพา.

สมประสงค์ ยมนา (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศีกษาขั้นพื้นฐาน.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ : แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

สุรีพร โพธิ์ภักดี. (2558). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.