ศึกษาวิเคราะห์ปาฏิหาริย์ในวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ในจังหวัดอุบลราชธานี

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระสันติชัย สิรินฺธโร (สุพิศ)
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ
พระครูธีรธรรมบัณฑิต

摘要

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปาฏิหาริย์ในวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ในจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อวิเคราะห์ปาฏิหาริย์ในวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยคุณภาพเชิงพื้นที่ เป็นการศึกษาเอกสารและลงพื้นที่สัมภาษณ์ โดยนำเสนอในรูปแบบการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา มี 3 ประการ คือ 1) อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่สามารถแสดงให้เป็นอัศจรรย์ได้ 2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ สามารถทายใจผู้อื่นได้ และ 3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง ระดับปาฏิหาริย์ มี 2 ระดับ คือ 1) ระดับโลกิยะ 2) ระดับโลกุตตระ ปาฏิหาริย์ในวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าพื้นฐานของปาฏิหาริย์เกิดจากความเชื่อและศรัทธา โดยการสืบทอดสายวิทยาคมของพระเถราจารย์ในอดีต ที่เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์โดยตรง ปาฏิหาริย์ในวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ในจังหวัดอุบลราชธานี เกิดขึ้นใน 4 ช่องทาง คือ 1) เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนสาธารณชนเคารพศรัทธา 2) เกิดจากการได้นำเอาคำสอนข้อปฏิบัติติที่ดีนั้นไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนเกิดผลต่อชีวิต 3) เกิดจากเมื่อประสบภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุ ทำให้เกิดความแคล้วคลาดปลอดภัย 4) เกิดจากอิทธิปาฏิหาริย์ที่เกินประสาทสัมผัสทั้งห้าของคนธรรมดาทั่วไป   

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน, 2554.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2546). ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น

ติ้ง กรุ๊พ จำกัด