รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธี โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

Main Article Content

พระมหาวสันต์ ภูริปญฺโญ
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธี โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธี โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธี โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 รูป การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 219 รูป/คน ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 43 รูป โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาทักษะการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านสันทัสนาและด้านสมุเตชนาซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือด้านสมาทปนา ส่วนด้านสัมปหังสนามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธี ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีส่วนประกอบของรูปแบบ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนำไปสู่การปฏิบัติประกอบด้วย 3.1) องค์ประกอบของทักษะการสอน 3.2) วิธีการพัฒนาทักษะการสอน 3.3) กิจกรรมเสริมทักษะ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธวิธีในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า รูปแบบมีความความเหมาะสม ความถูกต้องและมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551, กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.

จิตรา มีคำ, (2556) “ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก”,บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2554). ทักษะและเทคนิคการสอน: Teaching Skills and

Techniques. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563

รัชนี อมาตยกุล, (2555), ปัญหาของครู คุณภาพของครู, เอกสารประชุมร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555, เผยแผ่ 23 กันยายน 2556, มปป), หน้า 3-4.

ลักขณา ไชยา. (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธบริหารการศึกษา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. รายงานการวิจัย,

สัญญา พงษ์ศรีดา การพัฒนาทักษะการสอนของครูพันธุ์ใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561

สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 10, พฤษภาคม 2563.

สุภางค์ จันทวานิช, (2540) วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.