การศึกษาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประจำปีการศึกษา 2565

Main Article Content

ประวิทย์ ประมาน
เสาวลักษณ์ ประมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวกับสุขภาพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประจำปีการศึกษา 2565 กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย ดันพื้น 30 วินาที ลุก-นั่ง 60 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้า และการวิ่งระยะทาง 2,400 กิโลเมตร มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า  


  1. ด้านดัชนีมวลกายของนักศึกษาชาย อยู่ในเกณฑ์สมส่วน (M=22.00, S.D.=3.50) และนักศึกษาหญิง อยู่ในเกณฑ์สมส่วน (M=21.19, S.D.=3.55)

  2. ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักศึกษาชาย อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (M=24.83, S.D.=8.90) และนักศึกษาหญิง อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก (M=16.71, S.D.=6.33)

  3. ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อของนักศึกษาชาย อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (M=38.17, S.D.=6.71) และนักศึกษาหญิง อยู่ในเกณฑ์ต่ำ (M=30.29, S.D.=6.45)

  4. ด้านความอ่อนตัวของนักศึกษาชาย อยู่ในเกณฑ์สูงกว่ามาตรฐาน (M=13.03, S.D.=6.43) และนักศึกษาหญิง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (M=13.59, S.D.=5.85)

  5. ด้านความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดของนักศึกษาชาย อยู่ในเกณฑ์ต่ำ (M=14.39, S.D.=4.04) และนักศึกษาหญิง อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (M=18.02, S.D.=3.20)

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพลศึกษา, สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19-59 ปี. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 34 หน้า

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2562). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 193 หน้า.

ชารี จันสุพรม, ณรงค์ จอมโคกกรวด และพรทิพย์ ฉัตรชูเกียรติกุล. (2562). สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 13(2), 50-55.

ชุติญา อุ่นทานนท์ และจีราวิชช์ เผือกพันธ์. (2560). การสร้างแบบฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 11(2), 71-77.

ถิรจิต บุญแสน. (2566). ดัชนีมวลการ สำคัญอย่างไร. (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/ healthdetail.asp?aid=1361.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง, ปรีดี พิศภูมิวิถี, กวีญา สินธารา และจิรภา น้าคณาคุปต์. (2563). การศึกษาสัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวในกลุ่มสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุขศึกษา, ปีที่ 43(2), 165-178.

นภดล นิ่มสุวรรณ. (2563). สมรรถภาพทางกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 31 (1), 110-122.

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้าม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ 10 10(2), 2173-2184.

ประวิทย์ ประมาน, เสาวลักษณ์ ประมาน และชนกานต์ ขาวสำลี. (2558). การศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความต้องการในการออกกำลังกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, ปีที่ 2 (3), 1-8.

พลากร นัคราบัณฑิต และจีรนันท์ แก้วมา. (2564). การสร้างเสริมสมรรถภภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับนักศึกษาภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ปีที่ 1 (1), 73-83.

วสุนธรา รตโนภาส และสุนารีแซ่ว่าง. (2558). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู. วารสารครุศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 48(3), 41-59.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย : ตายดี วิถีที่เลือกได้. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ่ง แอนด์พับลิชซิ่ง.

ฮาดีย์ เปาะมา, บุญเลิศ อุทยานิก และวิชาญ มะวิญธร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพกับกิจกรรมทางกายของนิสิตมุสลิม มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, ปีที่ 48(1), 13-23.

American College of Sport Medicine. (1998). ACSM Fitness Book. 2nd ed. Champaign, IL: Human Kinetics.

Siratpapha Y., Waree W., Amornpan A., and Kornkit C. (2019). Effect of Modified High Intensity Circuit Training Program on Core Stabilizer, Quadriceps, Hamstrings and Deltoid Muscles Strength and Quality of Life in Obese Women. Journal of Sport Science and Technology, Volume 19(1). 133-145.

World Health Organization. (2011). Global Recommendations on Physical Activity for Health 5-17 years Old. [Online]. Available at: https://www.who.int/ dietphysical activity/publications/physical-activity-recommendations-5-17years. pdf?ua=1. [Accessed 3 August 2019].

Wood, R. J. (2008). "Cooper Fitness Test." Topend Sports Website. [online] Available at: https://www. topendsports.com/testing/tests/cooper.htm. [Accessed 16 March 2023].

Wood, R. J. (2010). Complete Guide to Fitness Testing. [online] Available at: https://www.topendsports.com /testing/. [Accessed 7 January 2017].