มาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

Main Article Content

ปัณณ์ณวัสส์ ย่องซี้
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด 2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของประเทศไทยกับต่างประเทศ 3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด และ 4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย


จากผลการศึกษาพบว่า มาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะให้การชดเชยเฉพาะผู้เสียหายที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือผู้เสียหายที่มีบัตรทองเท่านั้น โดยไม่คุ้มครองครอบคลุมไปถึงผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม ตลอดจนข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีปัญหาการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขถึงแม้จะมีการนำระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดมาใช้ในกฎหมายไทย แต่การเยียวยาในกรณีต่าง ๆ ยังไม่ครอบคลุม และมีข้อจำกัดในการพิจารณาเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหายที่เกิดจากการใช้บริการสาธารณสุข ดังนั้นจึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิดมาใช้ จะทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยในเวลารวดเร็ว คลายความกังวลทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบจากการได้รับความเสียหาย อันจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ประกอบเวชปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นด้วย

Article Details

บท
Research Articles

References

โครงการความร่วมมือด้านสุขภาพรัฐบาลไทย-สหภาพยุโรป. (2007). ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่เพ่งโทษตัวบุคคลและไม่พิสูจน์ความผิด. สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2566, จาก www.consumerthai.org/.../No-fault%20or%20no-blam.

ธนโรจน์ หล่อธนะไพศาล. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์: กรณีศึกษาเปรียบเทียบในอาเซียน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 10(1), 138-160.

เผ่าพงศ์ เอกสายธาร. (2561). การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข ด้วยระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด. สืบค้นวันที่10 มีนาคม 2566, จาก http://ombstudies.ombudsman.go.th/article_attach

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง). สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.thecoverage.info/news/content/3606

Henry Johansson. (2010). The Swedish System for compensation of patient injuries. Upsala Journal of Medical Science, 115(2), 88-90.

Kao, T. & Vaithianathan, R. (2010). Optimality of no-fault medical liability systems. PIE/CIS Discussion Paper 480, Center for Intergenerational Studies, Institute of Economic Research, Hitotsubashi University.

Marie Bismark and Ron Peterson. (2006). No – fault Compensation in New Zeland: Harmonizing Injury Compensation, Provider Accountability, And Patient Safety. Health Affairs, 25(1), 278-283.