การพัฒนารูปแบบการบริหารสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารฯ มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา, หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบด้านความเหมาะสมและด้านความถูกต้องของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินฯ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 โรงเรียน ทั้งหมด 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Article Details
References
กุลชาติ อุปรี. (2560). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสกลนคร เขต 3.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.วิทยานิพนธ์หลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2563). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงาน (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน (2554). การประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา เล่มที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา
ณรงค์ อภัยใจ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส
โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วชิรดล คำศิริรักษ์ (2563). สภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็นการบริหาร
จัดการโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กระทรวงศึกษาธิการ.
วีระศักดิ์ พลมณี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการ เรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2562.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียน มัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (สพม.สฎชพ.). (2564). โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อ พัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2564. ). สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Karsantik, Ismail. (2021). Teachers' Perceptions of Readiness for Change and Innovation Management in Their Schools. International Online Journal of Education and Teaching, v8 n1 p261-287.