มาตรการทางกฎหมาย ในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ที่รัฐอนุญาตให้ใช้

Main Article Content

สุภัสสรา เวศสุวรรณ์
ธานี วรภัทร์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทยและต่างประเทศ  2) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทยกับของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศโปรตุเกส ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงกฎหมาย ในแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในแต่ละที่ เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การศึกษาในครั้งนี้เป็นการใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก เอกสารแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายทั้งในประเทศไทยกับต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดควรจะใช้กับบุคคลที่เป็นอาชญากรเท่านั้น ควรมุ่งเน้นมาตรการป้องกันเป็นหลักกับงานทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมทั้งมีการผ่อนปรนการลงโทษทางอาญาให้เหมาะสม โดยใช้มาตรการทางกฎหมายสาธารณสุขและทางปกครองเข้ามาควบคุมแทน มีการอนุญาตให้ใช้สารเสพติดบางชนิดบางประเภทได้ โดยการควบคุมปริมาณ มีการขึ้นทะเบียนผู้เสพ ผู้เสพติดที่ต้องพึ่งพายาเสพติด มีการรักษาอาการเสพติดจากแพทย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่สนับสนุนการลดความรุนแรงในคดียาเสพติด ซึ่งได้แก่ ให้ผู้เสพหรือผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพายาเสพติดเข้าสู่การใช้มาตรการทางเลือกแทนการจำคุกให้ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพายาได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ มีห้องเสพยาเสพติด เพื่อเป็นแนวทางที่ประเทศไทยสามารถกระทำได้ต่อไปในอนาคต จะเห็นว่าการลดทอนความเป็นอาชญากรรมเป็นการลดความเสี่ยงได้ที่ต้นเหตุและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้

Article Details

บท
Research Articles

References

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2562). การลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2551). มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้เสพสารหรือผู้ติดสารเสพติด. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2563). กฎหมายยาเสพติดของประเทศโปรตุเกส: ต้นแบบความท้าทายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด วารสารกฎหมายนิติพัฒน์นิด้า, 9(1), 1-20.

ศุภร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Dunstan, J. (2021). Addiction workers back push for more Victorian safe injecting rooms in Melbourne suburbs. Retrieved from https://www.abc.net.au/news/2021-05-11/safe-injecting-rooms-push-for-melbourne-suburbs/100130336

EMCDDA. (2018). European Legal Database on Drugs: Penalties for Drug Law Offences in Europe at a Glance. Lisbon: European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction.

Internal Security Operations Command. (2014). News of internal security operations command. Retrieved from http://www.isoc.go.th/

Mark A.R Kleiman, James E. Hawdon. (2011). Drugs and Drug Policy: What Everyone Needs to Know. Graduate School: Oxford University.

National Infection Service. (2018). Unlinked Anonymous Monitoring Survey of People Who Inject Drugs: Data Tables. London: Public Health England.

Rodklai, K. (2008). Ministry of Education releases drug addiction policy focus on child voice filter - revive morality. Retrieved from https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_