การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนที่บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับสื่อประสม

Main Article Content

สุนิสา อุทัยอ้ม
แสงสุรีย์ ดวงคําน้อย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับสื่อประสม ให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนเต็มและมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 10 คน ปีการศึกษา 2565 รูปแบบการวิจัย เป็นการทดลองขั้นต้น กลุ่มเดียว มีการวัดผลหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาษามีพลัง จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 15 ข้อ แบบทดสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ 3) แบบวัดความความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 18.50 คิดเป็นร้อยละ 93.50 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนนักเรียน ทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับสื่อประสมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด (X̅=4.56, S.D.= 0.65) ด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือด้านครูผู้สอน (X̅=4.64, S.D.= 0.05) และด้านการใช้สื่อการเรียน (X̅=4.69, S.D.=0.48)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______. (2562) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ปรับปรุง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2553) และฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562)

_______.(2560) .หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.

. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัณณ์ภัสสร์ ทำประดิษฐ์ (2562) “การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำโดย

ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC.วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 6(2) พฤษภาคม- สิงหาคม 2564, 607-616.

กานต์ธิดา แก้วกาม, (2556) การจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีสอนแบบปกติ

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ‘ GANBATTE.

จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับ

เทคนิคแผนผัง ความคิด. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นวภรณ์ อุ่นเรือน (2560) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นิตยา พืชเพียรและคณะ. (2564). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วย

เทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมะยมศึกษาปีที่ 1” วารสาร

วิจัยรำไพพรรณี 15 (2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2564 , 183-202.

วิจารณ์ พานิช (2555) ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21.

http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=290 (สืบค้นวันที่ 25

กุมภาพันธ์ 2566).

โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา.(2564). หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

______.(2564). รายงานผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ปี 2564.

สายใจ ทองเนียม (2560) ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎหาสารคาม.