การพัฒนาการประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการเคลื่อนไหวท่าทางของวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กุลรดา พุทธผล
สรียา โชติธรรม
อุษณี ลลิตผสาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของการประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการเคลื่อนไหวท่าทางของวิชานาฏศิลป์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ในการเคลื่อนไหวท่าทางของวิชานาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองใช้ครั้งที่ 1 จำนวน 35 คน ต่อ 1 ห้องเรียน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพครั้งที่ 2 จำนวน 175 คน แบ่งเป็น 5 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการเคลื่อนไหวท่าทางของวิชานาฏศิลป์ เป็นการประเมินนักเรียนรายบุคคลด้วยวิธีการสังเกตขณะกำลังออกแบบการเคลื่อนไหวท่าทางหัวข้ออาชีพในท้องถิ่นทั้งหมด 5 กิจกรรม องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม มีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นรูบริก (Scoring Rubric) ระดับคะแนน 4 3 2 1 และ 0 ตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ดัชนีอำนาจจำแนก ตรวจสอบความเที่ยงแบบคงที่โดยวิธีการวัดซ้ำ (Test-retest) และหาดัชนีความสอดคล้อง RAI ระหว่างผู้ประเมิน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า ความตรงเชิงเนื้อหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทุกข้อมีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป แปลความได้ว่า เกณฑ์การให้คะแนนสามารถประเมินได้ตามนิยาม ค่าดัชนีอำนาจจำแนกทั้ง 2 ครั้งพบว่า แบบประเมินสามารถจำแนกกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการตรวจสอบความเที่ยงแบบคงที่ โดยวิธีการวัดซ้ำพบว่า มีความคงเส้นคงวาของคะแนนจากเครื่องมือฉบับเดียวกันในช่วงเวลาต่างกัน โดยมีค่าอยู่ในช่วง .84 ถึง 1.00 และดัชนีความสอดคล้อง RAI พบว่า ครั้งที่ 1 = .98 ครั้งที่ 2 = .96 แปลความได้ว่า ผู้ประเมินสามารถให้คะแนนได้อย่างใกล้เคียงสอดคล้องกัน และผลการศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ในการเคลื่อนไหวท่าทางของนักเรียนพบว่า ด้านความคิดคล่องแคล่วและความคิดริเริ่มส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และด้านความคิดยืดหยุ่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลกรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติการศึกษา. (2539). การวัดและ

ประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่ม กพอ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ม. ป. ท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557, 13 ตุลาคม). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

https://www.moe.go.th/การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2561). การหาคุณภาพเครื่องมือวัด.http://www.watpon.in.th/spss23/spss7.pdf.

_______. (2561). ดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมิน : RAI. http://www.watpon.in.th/Elearning/index_relia.pdf.

ธเนศ รัตนกุล. (2562, 28 พฤษภาคม). อยากให้เด็กคิดอย่างสร้างสรรค์? ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็นก่อน.

The matter. https://thematter.co/byte/create-creativity-for-kids/77730

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ ตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มารุต พัฒผล. (2560). เอกสารประกอบการเรียนรู้ การโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์

และนวัตกรรม [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาพหุวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรภัทร จินตะไล. (2560). การสร้างกิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์) บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Art_Ed/Weerapat_J.pdf

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2560). คู่มือการพัฒนาความสามารถในการสร้างเครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment). กระทรวงศึกษาธิการ: ม. ป. ท.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2557). การกำหนดค่าให้คะแนน Scoring Rubric. วารสารการวัดผลการศึกษา,

(89), 17-26

Brennan, M. A. (1982). Relationship between creative ability in dance and selected

creative attributes. Perceptual and Motor skills, 55(1), 47-56

Dorothy, J. A. (1971). A Comparison of motor creativity with verbal creativity and figural creativity of black culturally deprived children. University of North Carolina at Greensboro. Ed. D. Education. Physical.

Karaca, N. H. & Aral. N. (2017). Adaptation of Thinking Creatively in Action and

Movement Test for Turkish Children, Creativity and Innovation in

Educational Research, 42, 240-253

Mastracci, A. (2012). Presentation of Assessment for Evaluating Creative Learning.

Education Consultant, Cégep Marie-Victorin.

Martinez, E.M. & Rio. J.F. (2019). “Design and Validation of an Instrument to Assess Motor Creativity in Adolescents” Revista Internacional de Medicinay Ciencias de la Actividad Fisicay el Deporte. 19(75), 535-550

Richard, V., Aubertin, P., Yang, Y. Y., & Kriellaars, D. (2020). Factor structure of Play creativity: A new instrument to assess movement creativity. Creativity Research Journal, 32(4), 383-393.

Rhodes, M. (1961). An analysis of creativity. Phi Delta Kappan. 42(7), 305-310.

Simonton, D. K. (2012). “Taking the U.S. Patent Office criteria seriously: A quantitative three-criterion creativity definition and its implications.” Creativity Research Journal, 24, 97-106.