การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีสากล วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

Main Article Content

นคร วงศ์ไชยรัตนกุล

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยมีการแบ่งขั้นในการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และจากการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน รายวิชาทักษะดนตรีสากล 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การทบทวนความรู้เดิม การสร้างการมีส่วนร่วมภายในชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด การวัดและประเมินผล และการสะท้อนผลการประเมินสู่ผู้เรียน 2) ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ เป็นไปตามที่กำหนดในสมรรถนะหลักและสมรรถนะรองของรายวิชา โดยผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงคุณลักษณะด้านความรู้ที่กำหนดในรายวิชาอยู่ในระดับดีขึ้นไป ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านทักษะที่กำหนดไว้อยู่ในระดับดีขึ้นไป และผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเป็นอย่างดี โดยผู้เรียนมองว่าการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานช่วยสร้างความสนใจ และความสนุกสนานในการเรียนรู้ ช่วยฝึกฝนทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้แก่ผู้เรียน ทำให้รู้จักแหล่งข้อมูล และพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เสริมสร้างทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีแนวทางในการพัฒนาตนเองที่ชัดเจน ช่วยทบทวนความรู้เดิมและเสริมสร้างความรู้ด้านวิชาการและทักษะทางด้านดนตรี และสร้างการมีส่วนร่วมภายในชั้นเรียน

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะประยุกต์ใช้ศาสตร์

พระราชา บนพื้นฐานอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,9,6 (กันยายน-ตุลาคม 2564).

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์ (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิค

การเรียนรู้ แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นาเดีย กาพา (2562). การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน. หนังสืออิเล็คทรอนิคประกอบการเรียนรู้

รายวิชานวัตกรรมการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

นรรัตน์ ฝันเชียร (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/79321. (วันที่

สืบค้นข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2565).

บังอร เสรีรัตน์ (2564). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

https://regis.sru.ac.th › uploads › sites › 2021/01. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 20

พฤษภาคม 2565).

รณธิชัย สวัสดิ์ และรัตนะ บัวสนธ์ (2565). การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ. วารสารศิลปะศาสตร์

ราชมงคล สุวรรณภูมิ,4,1 (มกราคม-เมษายน 2565).

วินัย เพ็งภิญโญ กฤช สินธนะกุล และธัญญรัตน์ น้อมพลกรัง (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการ

เรียนรู้ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการอ้างเหตุผลด้วยฐานกรณี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,15,3 (กันยายน –ธันวาคม 2564).

วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ กฤช สินธนะกุล และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียน

การสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์ เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi,7,6 (มิถุนายน2565).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. บริษัท 21

เซ็นจูรี่ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2565). คู่มือการดำเนินงานตามแนวทางการนำสมรรถนะ

หลัก 5 ประการ สู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในชั้นเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.

อนุศร หงส์ขุนทด (2563). ทำไมต้องจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ?. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

http://krukob.com/web/1-159/. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2565).